แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สมาคมรักษ์ทะเลไทย


“ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายสุชาติ บุญญปรีดากุล

ชื่อโครงการ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ S-023/2566 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สมาคมรักษ์ทะเลไทย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง



บทคัดย่อ

โครงการ " ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ S-023/2566 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2566 - 30 เมษายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 79,800.00 บาท จาก สมาคมรักษ์ทะเลไทย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ข้อมูลพื้นฐาน   บ้านชายคลอง หมู่ที่ 11 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปากน้ำคลองปากประซึ่งเป็นคลองสายหลัก1ใน7สายที่ไหลจากเทือกเขาบันทัดสู่ทะเลสาบสงขลา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้   - ทิศเหนือจดคลองปากประและ ม.4 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน
  - ทิศตะวันออกจดทะเลหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลสาบสงขลา
  - ทิศตะวันตก จด ม.7 บ้านท่าสำเภาเหนือ ต.ชัยบุรี
  - ทิศใต้จด บ้านปากประ ม.8 ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง
ชุมชนบ้านชายคลองมีพื้นที่ที่ส่วนใหญ่เป็นป่าพรุสลับกับบ้านเรือนยกสูงตามถนนสายลำปำ-ทะเลน้อย และถนนสายบ้านอ้าย-ท่าสำเภาเลียบไปกับคลองปากประมีประชากรรวม 294 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 140 คน เพศชายจำนวน 154 คน มีครัวเรือนรวม 96 ครัวเรือน นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรจำนวน 52 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 54 ประมงจำนวน 42 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 44 และประกอบอาชีพค้าขาย 2 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 2 อาชีพประมงชายฝั่งมีความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวซึ่งมีผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว 13 ลำ เรือนำเที่ยวของกองทุนหมู่บ้าน 2 ลำ มีจุดชมวิวที่โดดเด่นคือ ยอยักษ์ ป่าลำพู แหล่งนาริมเล และทะเลน้อยซี่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงในลำดับต้นๆของจังหวัดพัทลุงซึ่งเป็นแหล่งที่มาของรายได้สำคัญของคนในชุมชน   อาชีพประมง มีจำนวน 42 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 44 ของอาชีพในชุมชน มีเรือหางยาวทำประมงจำนวน 47 ลำ ใช้วิธีวางกัด(ตาข่าย/อวน) ยอยัก ยอลูกเบร่ ไซ ไซราว แห ทำซั้งกุ้งแม่น้ำ เบ็ดราว มีสัตว์น้ำที่จับได้ตลอดปี และจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงน้ำหลาก (ตุลาคม-มกราคมของทุกปี) ได้แก่ กุ้งแม่น้ำ(กุ้งก้ามกราม/แม่กุ้ง) ปลาแหยง ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม้ง ปลานิล ปลามิหลัง ปลากด ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาลูกขาว ปลาสวาย ปลาบึก ปลากะพง โดยเฉพาะปลาลูกเบร่และปลาบึก (ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่นที่นำมาปล่อยให้อาศัยอยู่ในเลสาบฯ และสามารถเติบโตได้ถึง 200 กิโลกรัม) เป็นปลาที่สามารถจับได้เฉพาะในแถบปากน้ำและในคลองปากประเท่านั้นไม่พบในปากคลองอื่นที่ไหลลงทะเลสาบฯฝั่งตะวันตก ซึ่งนับว่าพื้นที่นี้มีความพิเศษที่ไม่เหมือนปากน้ำอื่นรอบทะเลสาบ สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่นอกเหนือจากใช้บริโภคในครัวเรือนแล้ว ที่เหลือจะขายในชุมชนหรือขายส่งแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือโรงแรม/รีสอร์ท ในพื้นที่เป็นเมนูอาหารประจำถิ่นที่เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงของถิ่นนี้

สภาพปัญหา ชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่ประสบปัญหาด้านการลดลงของสัตว์น้ำ ทั้งชนิดและปริมาณ ซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดที่กล่าวข้างต้นลดลงมาจนอยู่ในเกณฑ์ที่น่ากังวลโดยตลอดระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาชาวประมงในพื้นที่ต้องเพิ่มเครื่องมือ เวลาและระยะทางที่มากขึ้นในการจับสัตว์น้ำแต่ละวัน ดังนั้นจึงมีการร่วมกันสรุปถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่ามีสาเหตุสำคัญต่าง ๆ มาจากสาเหตุสำคัญคือ น้ำปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีการเกษตร น้ำเสียจากชุมชนขนาดใหญ่จากฟาร์มปศุสัตว์ซึ่งปล่อยมาจากต้นน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองท่าแนะลงสู่ทะเลสาบฯ ส่งผลให้คุณภาพของน้ำเสื่อมลงไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของสัตว์น้ำมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กและใช้เครื่องมืออประมงผิดกฎหมาย เช่นการจับปลาลูกเบล่ ที่ใช้ตาอวนขนา 1.5 เซ็นต์เป็นส่วนสำคัญที่เร่งให้สัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัดตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2560 - ปัจจุบันชุมชนได้หาทางออกแก้ปัญหาการลดลงของสัตว์สัตว์น้ำโดยผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้านโดยมีมติให้จัดทำเขตอนุรักษ์ของชุมชนในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่พร้อมด้วยการมีกติกาข้อตกลงของชุมชน แต่ยังมีแนวเขตที่ไม่ชัดเจน ใช้หลักแนวเขตด้วยไม้ไผ่และธง เมื่อเจอคลื่นลมก็มักจะเกิดการสียหาย ทำให้ชาวประมงใกล้เคียงเช่นจากหมู่ที่ 8 ตำบลลำปำ หมู่ที่ 4,5 ตำบลพนางตุง และชาวประมงจากฝั่งทะเลน้อย เข้ามาทำการประมงในเขตอนุรักษ์ชุมชนดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันยังมีการลักลอบทำประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ของชุมชนเป็นระยะๆ   จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวชุมชนมองว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เมื่อมีความต้องการใช้ทรัพยากรในจำนวนเพิ่มขึ้นในขณะที่ไม่มีการบริหารจัดการใดๆให้ทรัพยากรเหล่านั้นเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ทรัพยากรเหล่านั้นลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน จึงได้มีความเห็นร่วมกันในการร่วมคิดออกแบบในการแก้ปัญหาโดยการปรับสภาพแวดล้อมของชุมชนบ้านชายคลอง หมู่ 11 ด้วยการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำโดยการทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชนต่อยอดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา มุ่งเน้นการมีส่วนนร่วมของชุมชนและภาคีทุกภาคส่วนเกี่ยวข้องมีกติกาข้อตกลงที่ชัดเจน มีกลไกการทำงานที่เข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักให้เห็นความสำคัญของทรัพยากร การสร้างกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดสภาพแวดล้อมระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความอุดมสมบูรณ์อาชีพประมงยั่งยืนสร้างของชุมชนบ้านชายคลองและชุมชนใกล้เคียง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านชายคลอง
  2. เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน
  3. เพื่อสนับสนุนให้นิเวศน์เลบ้านชายคลองได้รับการฟื้นฟูและมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ขึ้น
  4. เพื่อหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เวทีเปิดโครงการ
  2. จัดทำป้ายโลโก้ สสส. ป้ายเขตปลอดบุหรี่/ปลอดแอลกอฮอร์
  3. ประชุมคณะทำงาน
  4. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ
  5. ประชุมคณะทำงาน
  6. ทำป้ายเขต หลักแนวเขตแสดงพื้นที่อาณาเขตอนุรักษ์
  7. จัดทำรายงานลงระบบรายงาน ที่คณะบริหารแผนงานกำหนด
  8. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จังหวัดพัทลุง
  9. ประชุมคณะทำงาน
  10. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สำรวจข้อมูล)
  11. ประชุมคณะทำงาน
  12. ศึกษาดูงานการเพาะอนุบาลกุ้งก้ามกราม การอนุรักษ์ฟื้นฟู ชุมชนบ้านคลองขุด/บ้านช่องฟืน
  13. การทำบ้านปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์
  14. ประชุมคณะทำงาน
  15. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  16. ประชุมคณะทำงาน
  17. ประชุมคณะทำงาน
  18. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สรุปข้อมูล)
  19. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน
  20. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)
  21. เวทีถอดบทเรียนร่วมกับภาคีเครือข่าย
  22. ประชุมคณะทำงาน
  23. เวทีปิดโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ครัวเรือนผู้ทำการประมง จำนวน 42 ครัวเรือน 40

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านชายคลอง
  2. เกิดการสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน
  3. เกิดการสนับสนุนให้นิเวศน์เลบ้านชายคลองได้รับการฟื้นฟูและมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ขึ้น
  4. เกิดการหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีเปิดโครงการ

วันที่ 10 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ทำความเข้าใจสถานการณ์ของทะเลสาบสงขลา ทะเลหน้าบ้านชายคลอง โดยมีวิทยากรที่มีความรู้เรื่องการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟู  มาให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 1.ประชุมคณะทำงานโครงการ ตัวแทนครัวเรือนทำอาชีพประมง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแสดงความเห็นหาวิธีการที่จะฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนกลางทั้งพื้นที่เก่าและพื้นใหม่ 2.สรุปบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมาของพื้นที่ 3.ตั้งคณะทำงาน  จำนวน 15 คน  จากทีมคณะผู้นำและตัวแทนครัวเรือนทำอาชีพประมง เพื่อร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ ประชุม ปจด. จำนวน 40 คน 3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบเลหน้าบ้าน ตั้งใจร่วมในการอนุรักษ์เลสาบหน้าบ้านชายคลองให้มีความสมบูรณ์
  • คนในชุมชนร่วมกันวางแนวทางการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน
  • มีคณะทำงานฟื้นเลหน้าบ้าน บ้านชายคลอง จำนวน 15 คน

 

40 0

2. จัดทำป้ายโลโก้ สสส. ป้ายเขตปลอดบุหรี่/ปลอดแอลกอฮอร์

วันที่ 10 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายรณรงค์ พื้นที่ปลอดบุหรีและแอลกอฮอร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ติดตั้งป้ายพื้นที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอร์ บริเวณพื้นที่จัดกิจกรรมตามโครงการ ณ ศาลาหมู่บ้าน บ้านชายคลอง ม.11 ต.ลำปำ

 

1 0

3. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ทบทวน/ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา
  3. กำหนดทิศทางวางแผนการทำงานในแต่ละช่วง
  4. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลักดันผลการดำเนินงานโครงการสู่การบูรณาการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง ครั้งละ 15 คน
  5. ประสานภาคึร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เช่น หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบ/ทะเลน้อย นากยก อบต ลำปำ/พนางตุงมาร่วมประชุมกับคณะทำงานในการขับเคลื่อนโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ ในแนวทางการอนุรักษ์เลหน้าบ้าน
  • วางแผนการทำงานตามกิจกรรมต่างๆตามโครงการ
  • แบ่งทีมรับผิดชอบงาน ตามความสามารถและความถนัด

 

15 0

4. การทำบ้านปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์

วันที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำบ้านปลาในเขตอนุรักษ์จำนวน 10 จุด ขนาด 3*3 เมตร/หลัง ใช้ไม่ไผ่ทำแนวคอก และใช้กิ่งไม้ลำพูสุมกองรวมเพื่อเป็นที่หลบภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้บ้านปลาในพื้นที่ จำนวน 10 จุด กระจายในเขตอนุรักษ์

 

15 0

5. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ

วันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ 1.กำหนดแนวทางการสำรวจ การเก็บข้อมูล 2.ออกแบบ แบบสำรวจการเก็บข้อมูล เช่น
2.1 ชนิดสัตว์น้ำ 2.2 จำนวนสัตว์น้ำ 2.3 ปริมาณการจับแต่ละเดือน 2.4 รายได้ 2.5 ระยะเวลา 2.6 เครื่องมือประมง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำแบบสำรวจข้อมูลแล้วเสร็จ และจ้างเหมาเยาวชนในพื้นที่จัดเก็บข้อมูล จากชาวประมง จำนวน 40 ชุด โดยมีอัตราค่าจ้างเหมาเก็บชุดละ 25 บาท โดยเก็บข้อมูลเฉพาะในพื้นที่ ม.11 บ้านชายคลอง

 

15 0

6. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมคณะทำงานประจำเดือนเพื่อวางแผนงานและกิจกรรมการลงพื้นที่ทำงานและการศึกษาดูงาน การเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกราม
ร่วมกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาดูงานและทบทวนวัตถุประสงค์ของศึกษาดูงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนการทำงานและกำหนดกรอบกิจกรรมการลงพื้นที่ทำงาน และการศึกษาดูงาน การเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกราม ของชุมชนบ้านคลองขุด โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักในชุมชน จะให้คนที่สนใจและทำการประมงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่ได้ไปเรียนรู้ก่อน เพื่่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และกระบวนการเพาะขยายพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

 

15 0

7. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานวางแผนการทำงานช่วงฤดูมรสุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมหารือแนวทางการดูแล และป้องกันลมมรสุม ที่อาจเกิดความเสียหายแก่บ้านปลาในเขต โดยมีแนวทางดังนี้ 1.ให้กลุ่มประมงอาสาเติมกิ่งไม้ และปักหลักเพิ่มเติมให้เกิดความแข็งรง 2.กิ่งไม้ที่เติมจะต้องปักลงดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร 3.ใช้เชือกผูกรอบบ้านปลาแต่ละหลังเพื่อยึดหลักเสริมความแข็งแรง 4.ให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ก่อนระดับน้ำจะเพิ่สูงขึ้น

 

15 0

8. ทำป้ายเขต หลักแนวเขตแสดงพื้นที่อาณาเขตอนุรักษ์

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จำทำป้ายหลักเขต แสดงอาณาเขตพื้นที่อนุรักษ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำเสาหลักเขต และป้ายหลักเขต รอบพื้นที่เขตอนุรักษ์ 1.ปักเสาไม้แสดงหลักเขตทั้ง 4 มุม 2.ติตตั้งป้ายแสดงอาณาเขตพื้นที่อนุรักษ์ 3.ติดธงชาติเพื่อเป็นสัญลักษณ์

 

6 0

9. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สำรวจข้อมูล)

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูล มอบให้ทีมเก็บข้อมูลได้ลงพื้นที่ โดยมีข้อมูลสำรวจ ประกอบด้วย 1.ข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ทำประมง
2.ข้อมูลรายได้จากอาชีพประมง
3. ข้อมูลพันธุ์สัตว์น้ำในปากประ
4.ข้อมูลเอกสารเผยแพร่ ฐานทรัพยากรชายฝั่ง
5.ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลที่มีการแบ่งทีมรับผิดชอบอย่างชัดเจน
6.รวบรวมข้อมูลและสรุปผลข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะทำงานเก็บข้อมูลมีทักษะและความชำนาญในการทำเพิ่มขึ้น 2.ได้ชุดข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ทำประมง เป็นเครื่องมือที่ถูกกฎหมาย รายได้จากการจำหน่วยสัตว์น้ำ และแปรรูปสัตว์น้ำ
3.ได้ข้อมูลปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น จากการชาวประมงในชุมชนทำตามกติกาที่ได้สัญญาร่วมกัน

 

15 0

10. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานพร้อมด้วย พัฒนากรอำเภอ เพื่อออกแบบบูรณาการเขตอนุรักษ์ เพือเข้าแผนพัฒนาหมู่บ้าน ปี 2567

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานเสนอเขตอนุรักษ์ เข้าแผนพัฒนาหมู่บ้าน ปี 2567
  • คณะทำงานเสนอให้มีการจัดทำธนาคารกุ้งก้ามกรามชุมชน
  • คณะทำงานพูดคุยประเด็นปัญหา/อุปสรรค์ และแผนการดำเนินงาน ในช่วงฤดูมรสุม พ.ย.66 - ก.พ. 67         - ปักหลักวั้งบ้านปลาเพิ่มเพื่อให้มั่นคงแข็งแรง         - ซ่อมแซมกิ่งไม้ในซั้งบ้านปลาและปักให้ลึกเพื่อไม่ให้หลุดตอนมีคลื่นลม         -  ปักหลักเขตเสริมของเก่า เพื่อเป็นแนวเขตที่ชัดเจน
  • พัฒนากรรับเรื่องและเสนอเข้าแผนต่อไป

 

15 0

11. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จังหวัดพัทลุง

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

24/11/66ติดตาประเมินผลการทำงานตามโครงการ ทั้ง 4 พื้นที่ของจังหวัดพัทลุง ตามตัวชีวัดและบันไดผลลัพธ์ ของแต่ละพื้นที่ สะท้อนปัญหา อุปสรรค์การดำเนินงาน สรุปผลการดำเนินงานตามงวดแรกของโครงการ 29/01/67 ประชุมเวทีตดตามและประเมินผล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (กระบวนการ ARE) ในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 23-24/05/67 เวทีปิดดครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานสามารถถอดผลการดำเนินกิจกรรมได้
  • สามารถทำงานได้ตามแผนงวดโครงการที่วางไว้
  • สะท้อนปัญหาและข้อเสนอแนะให้กับทางพี่เลี้ยงและหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ
  • มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงิน
  • จัดทำเอกสารการเงินได้ถูกต้อง

    • ถอดบทเรียน ARE
  • ผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพท์และตัวชี้วัดโครงการ
  • สรุปผลความสำเร็จโครงการ
  • การต่อยอดโครงการและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ดังนี้   การต่อยอดในด้านการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ผ่านกิจกรรม ทำบ้านปลา work shop กิจกรรม  CSR
      การแปรรูปผลผลิตจากสัตว์ เพิ่มคุณค่าเชิงมูลค่า ยกระดับผลิตภัณฑ์

 

13 0

12. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตามการทำงานในช่วงรอบเดือนที่ผ่านมา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นายภูษิต จันทร์เพชร ประมงจังหวัดพัทลุง เปิดประชุมโครงการบริหารจัดการทรัพยากร หลักสูตร การสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงในทะเลสาบอย่างยั่งยื่น ร่วมกับ ประมงอำเภอเมืองพัทลุง หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดพัทลุง ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์บ้านชายคลอง ประชุมแนวการการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน การงดทำการประมงในฤดูวางไข่ การห้ามใช้เครื่องมือผิดประเภท และร่วมแนะนำพูดคุยกับประมงอาสาในพื้นที่ ในการดำเนินกิจกรรมการทำอนุรักษ์

 

15 0

13. ศึกษาดูงานการเพาะอนุบาลกุ้งก้ามกราม การอนุรักษ์ฟื้นฟู ชุมชนบ้านคลองขุด/บ้านช่องฟืน

วันที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศึกษาดูงานการจัดทำเขตอนุรักษ์กลุ่มอนุรักษ์บ้านคลองขุด พูดคุยแลกเปลี่ยน การจัดการแนวเขตอนุรักษ์ ของพื้นบ้านคลองขุดและพื้นที่บ้านชายคลอง เพื่อนำแนวทางปฏิบัติ มาปรับปรุง และบูรณาการใช้ในพื้นที่ และศึกษาการดำเนินกิจกรรมการทำธนาคารกุ้งก้ามกรา และวิธีการเพาะขยายพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ทีมประมงอาสาในพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
2.ทีมสามารถนำแนวคิดและวิธีการทำเขตอนุรักษ์บ้านคลองขุดมาปรับใช้ในพื้นที่ ทั้งในเรื่องของแนวทางปฏิบัติ กฏกติการ
3.มีเครือข่ายอนุรักษ์ทะเลสาบสงขลา
4.ศึกษาการทำธนาคารกุ้ง การรับฝากแม่พันธุ์ การเพาะขายพันธุ์ การอนุบาลลูกกุ้ง จนเข้าสู่กุ้งคว่ำ (กุ้ง P) และการปล่อยคืนธรรมชาติ

 

15 0

14. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประสานขอพันธุ์สัตว์น้ำจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง เพื่อปล่อยลงสู่แหลงน้ำในบริเวณเขตอนุรักษ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง มอบพันธุ์ปลาน้ำจืดจำนวน 200,000 ตัว ให้กับกลุ่มอนุรักษ์บ้านชายคลอง โดยมีเจ้าหน้าที่ คณะทำงานโครงการ และชาวประมงในพื้นที่ ร่วมกันปล่อยพันธู์ปลาลงสู่แหล่งน้ำ ยังเขตอนุรักษ์

 

20 0

15. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากประ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านชายคลอง มาให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย โดยเฉพาะการบริโภคปลาที่หาเอง แทนการกินปลาที่แช่น้ำแข็ง ที่มาจาดแหล่งอื่น ซึ่งอาจจะมีสารตกค้าง และการทำการเกษตรปลอดภัย โดยการปลูกผักกินเองเพื่อเป็นแหล่งอาหารอีกช่องทางของสมาชิก พร้อมด้วยการซักถามปัญหาสุขภาพและสุขภาวะทางจิตใจของสมาชิก โดยสมาชิกส่วนใหญ่มีสุขภาวะที่ดีขึ้น มีปลาให้กินเพียงพอ มีรายได้จากการประมงเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินลดลง ใช้เวลาทำการประมงน้อยลง ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

 

15 0

16. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานและทีมประมงอาสาในการขับเคลื่อนงานเขตอนุรักษ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 ประชุมคณะทำงานพร้อมทั้งแนะนำการทำบัญชีครัวเรือน ทั้งแบบจดบันทึกและแบบออนไลน์ เพื่อให้สมาชิกสามารถรู้สถานะทางการเงิน รายรับ รายจ่าย จากการทำการประมง และการดำรงค์ชีวิต 2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัยชีครัวเรือน 3 คณะทำงานร่วมกันวางแผนกำหนดวันเพื่อจัดเวทีถอดบทเรียน ภายในเดือนมีนาคม
4 ประมงอาสารายงานผลการทำงาน การบุกรุก ความเสียหายในเขตอนุรักษ์ ผลสรุปไม่พบผู้กระทำความผิด 5 นัดรวมกันซ่อมแซมเขตที่โดนคลื่นลมช่วงน้ำท่วม

 

15 0

17. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สรุปข้อมูล)

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจจัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ
  2. สรุปข้อมูลตามประเภทข้อมูล แยกเป็น ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ
  3. จัดเก็บข้อมูลลงระบบ และรูปเล่มเพื่อการเผยแพร่ข้อมูล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้วในพื้นที่ ปลาท้องถิ่นที่สูญพันธุ์แล้วในคลองปากประ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่
ปลาแรค(ปลาเม่น) ปลาตุ่ม ปลาดุกลำพัน ปลาแหยงขี้ไก่ ปลาแย่(ปลาโอนเผือก) ปลาตือ(ปลาสะตือ) ปลาหมอตาล และปลาหูดำ(ปลาตูหนา) ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ เนื่องจากจับไม่ได้ในช่วง 5- 30 ปีที่ผ่านมา ปลาสูญพันธุ์ที่พบในเขต ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย
ปลากดหัวกบ ผลการเก็บข้อมูลตลอดโครงการ เปรียบเทียบ ก่อน - หลัง ทำโครงการ

1.ข้อมูลสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงในพื้นที่
สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(ก่อนทำโครงการ)
ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(หลังทำโครงการ) ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน ปลากะทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ

2.ข้อมูลเครื่องมือประมงในพื้นที่
เครื่องมือประมง (ก่อนทำโครงการ) จำนวน 10 ชนิด
แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 2.8/3.5/4/5/7/12 เซนติเมตร) ยอ
เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล) อวนลาก
เครื่องมือประมง (หลังทำโครงการ) จำนวน 9 ชนิด แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 3.5/4/12/15 เซนติเมตร) ยอ เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล)
3.รายได้จากการทำการประมง และเวลาที่ใช้ทำการประมงในพื้นที่
รายได้จากการทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
300 – 800 บาท / คน / วัน เฉลี่ย 450 บาท/ คน/วัน
รายได้จากการทำการประมง (หลังทำโครงการ) 800 – 3000 บาท / คน / วัน เฉี่ย 1276 บาท/ คน/วัน เวลาในการทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
5 – 12 ชั่วโมง / วัน
เวลาในการทำการประมง (หลังทำโครงการ) 3- 8 ชั่วโมง / วัน

4.จำนวนครัวเรือนทำการประมง และจำนวนเรือประมงในพื้นที่
จำนวนครัวเรือนทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
42 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนทำการประมง (หลังทำโครงการ) 59 ครัวเรือน จำนวนเรือประมง(ก่อนทำโครงการ) จำนวนเรือประมง(หลังทำโครงการ) 47 ลำ
จำนวนเรือประมง(หลังทำโครงการ) 66 ลำ จำนวนครัวเรือนทำการประมงเพิ่มขึ้น 17 ครัวเรือน จำนวนเรือทำการประมงเพิ่มขึ้น 19 ลำ

5.คุณภาพชีวิตและการบริโภคอาหารในพื้นที่ คุณภาพชีวิต (ก่อนทำโครงการ) การบริโภคอาหาร (จำนวนมื้อ/สัปดาห์)
หมู 10
ไก่ 3
กุ้งแช่แข็ง 1
กุ้งในพื้นที่ 0
ปลาในพื้นที่ 4
ปลาแช่แข็ง 2
อาหารสำเร็จรูป 1
ทานอาหารนอกบ้าน 0
คุณภาพชีวิต (หลังทำโครงการ) การบริโภคอาหาร (จำนวนมื้อ/สัปดาห์) หมู 3 ไก่ 3 กุ้งแช่แข็ง 1 กุ้งในพื้นที่ 1 ปลาในพื้นที่ 12 ปลาแช่แข็ง 1 อาหารสำเร็จรูป 0 ทานอาหารนอกบ้าน 0

 

15 0

18. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

วันที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งข้อมูล การทำงาน ปัญหาอุปสรรค์ และการทำรายงาน เพื่อสรุปปิดดครงการภายในเดือนมีนาคม 2567

 

0 0

19. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)

วันที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเวทีติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา กับคณะทำงานและชาวประมงในพื้นที่ จำนวน 30 ราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะทำงานและชาวประมงมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร เลหน้าบ้าน 2.คณะทำงานและชาวประมงมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบการบริหารจัดการพื้นที่และการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆใกล้เคียง 3.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ ปัญหา อุสรรค และแนวทางการแก้ปัญหา 4. คณะทำงานสามารถสรุปผลการดำเนินการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.คณะทำงานสามารถนำเสนอผลการดำเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ในโครงการ

 

30 0

20. เวทีถอดบทเรียนร่วมกับภาคีเครือข่าย

วันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมถอดบทเรียนการทำงานของคณะทำงาน ประมงอาสา ชาวประมงในพื้นที่และภาคีเครือข่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะทำงานและชาวประมงในพื้นที่ สามารถสะท้อนปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาได้ 2.คณะทำงานร่วมกันถอดบทเรียนการทำงานตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา ทั้งในกระบวนการทำงาน ปัญหาการบุกรุก แนวทางการชักชวนชาวประมงให้เข้าร่วม และแนวทางการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน 3.หน่วยงานวิชาการเสนอแนะการจัดเก็บข้อมมูลทางวิชาการเพื่อการใช้ข้อมูลในอนาคต 4.คณะทำงานเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยส่งเสริมสนับสนุน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป้นหน่วยงานหลักในพื้นที่

 

30 0

21. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน คุยเตรียมการประชุมปิดโครง วันที่ 31 มีนาคม 2567 ณ ศาลาหมู่บ้านชายคลอง
แบ่งบทบาทหน้าที่ในการจัดเวที ทบทวนความพร้อมข้อมูลผลการดำเนินงาน/ผลลัพธ์ตัวชี้วัด
นิทรรศการผลการดำเนินงาน/ผลลัพธ์โครงการ เตรียมกำหนดการ สถานที่ เช็คประสานผู้เข้าร่วม
จัดทำรายงานบันทึกข้อมูลผ่านระบบ happy network  ติดตามผลการดำเนินงานการทำเขต ติดตาม/เฝ้าระวังเขตอนุรักษ์
และติดตามผลการเผยแพร่การทำงานให้กับชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานสรุปผลการทำงานตลอดโครงการ
  2. คณะทำงานสามารถบันทึกข้อมูลผ่านระบบ happy network ได้
  3. คณะทำงานดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์
  4. คณะทำงานเสนอให้มีการทำเขตอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง
  5. คณะทำงานสามารถเผยแพร่การทำงานให้กับชุมชนใกล้เคียงได้

 

15 0

22. เวทีปิดโครงการ

วันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมเวทีปิดโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการทำความเข้าใจที่มาของโครงการ
  2. นำเสอนผลลัพธ์และตัวชี้วัดการดำเนินโครงการ ฯ พร้อมนิทรรศการนำสรุปข้อมูลผลการดำเนินงานตลอดกิจกรรม
  3. ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยง ให้คณะทำงานและผู้เข้าร่วมได้ร่วมตรวจสอบและเปลี่ยนเพิ่มเติม
  4. แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนจัดการทรัพยากรชายฝั่งและการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม/ชุมชนชาวประมงบ้านชายคลอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปผลการทำงานตลอดโครงการ - เกิดประมงอาสาจำนวน 20 คน นายสุชาติ บุญญปรีดากุล นายประพันธ์ แสงอุทัย นายประดิษฐ ยอดแก้ว นายภาคินัย ยอดแก้ว นายสายทิพย์ โมราสิทธิ์ นายทวีโชค ขุนฤทธิ์ นายเสรี จีนเมือง นายสมชาย เลื่อนแป้น นายคาวี แก้วนวน นายสมชาย เจ้าเห้ง นายมโน เลื่อนแป้น นายเกริกฤทธิ์ ศรีจันทร์ นายประเสริฐ ยอดแก้ว นายอนันต์ พิจิตรรัตน์ นายพิเชษฐ ขุนพิทัก นายฤทธิไกร ห้องแก้ว นายบุญเลิศ บุญน้อย นายศิลป บุบผะเรณู นายอานนท์ เซ่งฮั่ว นายธนิต นิยมแก้ว

  • มีคณะทำงานจำนวน 15 คน นายสุชาติ บุญญปรีดากุล นายภาคินัย ยอดแก้ว นายสายทิพย์ โมราสิทธิ์ นายทวีโชค ขุนฤทธิ์ นายคาวี แก้วนวน นายฤทธิไกร ห้องแก้ว นายบุญเลิศ บุญน้อย นายธนิต นิยมแก้ว นางสาวพรทิพย์ อ่อนแก้ว นางเยาวดี โมราสิทธิ์ นางปรีดา บุญน้อย นางสาววัชรียา บุญน้อย นายสมครวน อ่อนแก้ว นายประดิษฐ ยอดแก้ว นายเกริกฤทธิ์ ศรีจันทร์

  • กฎกติกาชุมชน เขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง ปากประ หมู่ที่ 11 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 1.หากมีการฝ่าฝืนทำการประมงในเขตอนุรักษ์ จะทำการยึดเรือ เครื่องยนต์ เครื่องมือทำการประมง และสัตว์น้ำทั้งหมด โดยให้ผู้ทำการฝ่าฝืนมาจ่ายค่าปรับครั้งแรก 5,000 บาท และหากผู้กระทำผิดรายเดิมเข้ามาทำการลักลอบทำการประมงในเขตอนุรักษ์ซ้ำ จะดำเนินการปรับเป็น 2 เท่า จำนวน 10,000 บาท โดยทั้งหมดจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์
    2.คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์ไม่มีสิทธิ์ทำการประมงใดๆ ในเขตอนุรักษ์ เว้นแต่เพื่อการศึกษาวิจัย หรือประเมินผลการทำเขตอนุรักษ์ หากคณะกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้กระทำผิดจะมีโทษปรับ 10,000 บาท และให้ออกจากการเป็นคณะกรรมการกลุ่มทันที 3.หากจงใจทำลาย ให้ได้รับความเสียหายแก่ซั้งบ้านปลาในเขตอนุรักษ์ ต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 10,000 บาท โดยคณะกรรมการจะยึดเรือ และเครื่องมือประมงไว้เป็นหลักประกัน หรือตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร 4.กรณีมีการเปลี่ยนแปลง ระเบียบ กฎกติกา หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ให้ผ่านการประชุมประชาคม และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและชาวประมงได้รับทราบโดยทั่วกัน 5.หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอม จะถูกส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษความผิดกฎหมายประมง ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

  • มีบ้านปลาเพิ่มขึ้นจำนวน 10 จุด

  • มีพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มขึ้นจากเดิม 117 ไร่ เป็น 150 ไร่

ปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้วในพื้นที่ ปลาท้องถิ่นที่สูญพันธุ์แล้วในคลองปากประ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่
ปลาแรค(ปลาเม่น) ปลาตุ่ม ปลาดุกลำพัน ปลาแหยงขี้ไก่ ปลาแย่(ปลาโอนเผือก) ปลาตือ(ปลาสะตือ) ปลาหมอตาล และปลาหูดำ(ปลาตูหนา) ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ เนื่องจากจับไม่ได้ในช่วง 5- 30 ปีที่ผ่านมา ปลาสูญพันธุ์ที่พบในเขต ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย
ปลากดหัวกบ ผลการเก็บข้อมูลตลอดโครงการ เปรียบเทียบ ก่อน - หลัง ทำโครงการ

1.ข้อมูลสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงในพื้นที่
สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(ก่อนทำโครงการ)
ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(หลังทำโครงการ) ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน ปลากะทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ

2.ข้อมูลเครื่องมือประมงในพื้นที่
เครื่องมือประมง (ก่อนทำโครงการ) จำนวน 10 ชนิด
แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 2.8/3.5/4/5/7/12 เซนติเมตร) ยอ
เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล) อวนลาก
เครื่องมือประมง (หลังทำโครงการ) จำนวน 9 ชนิด แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 3.5/4/12/15 เซนติเมตร) ยอ เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล)
3.รายได้จากการทำการประมง และเวลาที่ใช้ทำการประมงในพื้นที่
รายได้จากการทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
300 – 800 บาท / คน / วัน เฉลี่ย 450 บาท/ คน/วัน
รายได้จากการทำการประมง (หลังทำโครงการ) 800 – 3000 บาท / คน / วัน เฉี่ย 1276 บาท/ คน/วัน เวลาในการทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
5 – 12 ชั่วโมง / วัน
เวลาในการทำการประมง (หลังทำโครงการ) 3- 8 ชั่วโมง / วัน

4.จำนวนครัวเรือนทำการประมง และจำนวนเรือประมงในพื้นที่
จำนวนครัวเรือนทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
42 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนทำการประมง (หลังทำโครงการ) 59 ครัวเรือน จำนวนเรือประมง(ก่อนทำโครงการ) จำนวนเรือประมง(หลังทำโครงการ) 47 ลำ
จำนวนเรือประมง(หลังทำโครงการ) 66 ลำ จำนวนครัวเรือนทำการประมงเพิ่มขึ้น 17 ครัวเรือน จำนวนเรือทำการประมงเพิ่มขึ้น 19 ลำ

5.คุณภาพชีวิตและการบริโภคอาหารในพื้นที่ คุณภาพชีวิต (ก่อนทำโครงการ) การบริโภคอาหาร (จำนวนมื้อ/สัปดาห์)
หมู 10
ไก่ 3
กุ้งแช่แข็ง 1
กุ้งในพื้นที่ 0
ปลาในพื้นที่ 4
ปลาแช่แข็ง 2
อาหารสำเร็จรูป 1
ทานอาหารนอกบ้าน 0
คุณภาพชีวิต (หลังทำโครงการ) การบริโภคอาหาร (จำนวนมื้อ/สัปดาห์) หมู 3 ไก่ 3 กุ้งแช่แข็ง 1 กุ้งในพื้นที่ 1 ปลาในพื้นที่ 12 ปลาแช่แข็ง 1 อาหารสำเร็จรูป 0 ทานอาหารนอกบ้าน 0

 

40 0

23. จัดทำรายงานลงระบบรายงาน ที่คณะบริหารแผนงานกำหนด

วันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าบริการอินเตอร์เน็ตในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บันทึกข้อมูลการทำโครงการเข้าสู่ระบบ ตลอดโครงการจำนวน 10  เดือน

 

0 0

24. จัดทำรายงานลงระบบรายงาน ที่คณะบริหารแผนงานกำหนด

วันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าบริการอินเตอร์เน็ตในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บันทึกข้อมูลการทำโครงการเข้าสู่ระบบ ตลอดโครงการจำนวน 10 เดือน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านชายคลอง
ตัวชี้วัด : คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบ พร้อมร่วมอนุรักษ์เลหน้าบ้านชายคลอง
0.00

การจัดทำข้อมูลชุมชนและนำข้อมูลวิเคาะห์ประเมินสถานการผลกระทบที่ส่งผลต่อชุมชนถ้าไม่ปรับเปลี่ยนและกระบวนการร่วมวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันทำให้คนในชุมชนประมงตื่นรู้ และพร้อมร่วมเพิ่มขี้

2 เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน
ตัวชี้วัด : 2.1 มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์เลหน้าบ้านไม่ต่ำกว่า 15 คน ที่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประประสิทธิภาพ 2.2 มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 2.3 มีข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่บ้านชายคลองเปรียบเทียบก่อน -หลังการดำเนินงานโครงการฯ 2.4 มีกติกาข้อตกลงในการทำประมง 2.5 มีประมงอาสาดูแลเขตฯไม่ต่ำกว่า 15 คน 2.6 มีแผนการทำงานของประมงอาสา
15.00

กระบวนการทำงานเน้นการมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลวิเคราะห์และประเมินร่วมกันในการออกแบบและขับเคลื่อนงาน

การประสานภาคีเข้าร่วมตั้งแต่เริ่มที่ให้เกิดความร่วมมือและหนุนเสริมชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3 เพื่อสนับสนุนให้นิเวศน์เลบ้านชายคลองได้รับการฟื้นฟูและมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ขึ้น
ตัวชี้วัด : 3.1 มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ พร้อมหลักแนวเขต ป้ายเขตอนุรักษ์ในพื้นตามข้อตกลงชุมชน 3.2 มีบ้านปลาเพิ่มขึ้น จำนวน 10 จุด 3.3 มีพื้นที่เขตอนุรักษ์จำนวนเพิ่มขึ้น 150 ไร่ 3.4 รายได้จากการทำประมงเพิ่มขึ้น เดือนละไม้น้อยกว่า 1,000- 1,500 บาท 3.5 มีแผนปฏิบัติการในการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเลแบบมีส่วนร่วมโดยเน้นกระบวนการชุมชนจัดการตนเองได้
150.00

 

4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 4.1 โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ตามแผน 4.2.โครงการย่อยสามารถรายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 4.3โครงการย่อยสามารถเดินทางร่วมกิจกรรมที่ทางคณะบริหารแผนงานกำหนด

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนผู้ทำการประมง จำนวน 42 ครัวเรือน 40

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านชายคลอง (2) เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน (3) เพื่อสนับสนุนให้นิเวศน์เลบ้านชายคลองได้รับการฟื้นฟูและมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ขึ้น (4) เพื่อหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีเปิดโครงการ (2) จัดทำป้ายโลโก้ สสส. ป้ายเขตปลอดบุหรี่/ปลอดแอลกอฮอร์ (3) ประชุมคณะทำงาน (4) จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (5) ประชุมคณะทำงาน (6) ทำป้ายเขต หลักแนวเขตแสดงพื้นที่อาณาเขตอนุรักษ์ (7) จัดทำรายงานลงระบบรายงาน ที่คณะบริหารแผนงานกำหนด (8) เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จังหวัดพัทลุง (9) ประชุมคณะทำงาน (10) จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สำรวจข้อมูล) (11) ประชุมคณะทำงาน (12) ศึกษาดูงานการเพาะอนุบาลกุ้งก้ามกราม การอนุรักษ์ฟื้นฟู ชุมชนบ้านคลองขุด/บ้านช่องฟืน (13) การทำบ้านปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์ (14) ประชุมคณะทำงาน (15) ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (16) ประชุมคณะทำงาน (17) ประชุมคณะทำงาน (18) จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สรุปข้อมูล) (19) ประชุมคณะทำงานประจำเดือน (20) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) (21) เวทีถอดบทเรียนร่วมกับภาคีเครือข่าย (22) ประชุมคณะทำงาน (23) เวทีปิดโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ S-023/2566

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสุชาติ บุญญปรีดากุล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด