directions_run

ส่งเสริมสุขภาพปลูก กิน ผักปลอดภัยเพื่อความยั่งยืน ตำบลบาเจาะ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพปลูก กิน ผักปลอดภัยเพื่อความยั่งยืน ตำบลบาเจาะ
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-0002
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 100,600.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกริยา มูซอ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอาดีละห์ กาโฮง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,240.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,300.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,060.00
รวมงบประมาณ 100,600.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ผักปลอดภัย จังหวัดยะลา ปี 2565 มีเป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัด คือ ลดการนำเข้าผักจากนอกพื้นที่ โดยมีภาคีร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประกอบด้วย หน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยะลา สำนักงานเกษตรกรจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดยะลา และโรงพยาบาลจังหวัดยะลา มีโมเดลผักปลอดภัยจากการขับเคลื่อนเมื่อปี 2565 จำนวน 2 โมเดล คือ โมเดลวิสาหกิจชุมชน มีกลุ่มเป้าและโครงสร้างกลุ่มที่จะดำเนินการชัดเจน และโมเดลกลุ่มเกษตรกร สมาชิกกลุ่มมีการรวมกลุ่มเกษตรกรปลูกผัก ดำเนินแบบกลุ่มแต่โครงสร้าง บทบาทหน้าที่คณะกรรมการยังไม่ชัดเจน พื้นที่ร่วมดำเนินโครงการจำนวน 12 ตำบล 13 ชุมชน ดังนี้ อำเภอเมือง 1 วิสาหกิจชุมชนสวนนูรีสฟาร์ม ลำใหม่ (โมเดลวิสาหกิจชุมชน) 2วิสาหกิจชุมชนบ้านชาสมุนไพร ตำบลหน้าถ้ำ 3 กลุ่มผักปลอดสารบ้านคลองทราย ตำบลยุโป 4 กลุ่มบ้านสวนเกษตรบ้านทุ่งเหรียง ตำบลยุโป 5 กลุ่มสวนเกษตรปลอดภัยตำบลบุดี อำเภอรามัน 6 กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรแบบยั่งยืน ตำบลยะต๊ะ (โมเดลกลุ่มาเกษตรกร) 7 กลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย บือมัง ตำบลบือมัง 8 กลุ่มปามานีส ฮีดูบ ตำบลบาโงย 9 กลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยชุมชนเลสุ ตำบลกาลูปัง 10 กลุ่มปลูกผักตำบลวังพญา ตำบลวังพญา อำเภอยะหา 11 ศพก.เครือข่ายบ้านบลูกาลูวัส ตำบลกาตอง อำเภอบันนังสตา 12 วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรพึ่งตนเองบ้านโปฮนญัมบู ตำบลบันนังสตา และ 13 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตอาหารปลอดภัย ตำบลบาเจาะ
ตำบลบาเจาะ เป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของหน่วยจัดการที่มีจุดเน้นสำคัญระดับจังหวัด ตำบลลาเจาะ      มีจำนวนประชากรประมาณ 10,070 คน จำนวน 1,699 ครัวเรือน นับถือศาสนาอิสลาม 100% มีเนื้อที่แยกตามหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านอูแบ พื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ หมู่ที่ 2 บ้านบาเจาะ พื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ หมู่ที่ 3 บ้านบางลาง พื้นที่ประมาณ 11,250 ไร่ หมู่ที่ 4 บ้านบียอ พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ หมู่ที่ 5 บ้านคอลอกาเอ พื้นที่ 13 ประมาณ 8,125 ไร่ และในพื้นที่พบว่า มีเกษตรกรหมู่ที่ 2 ทำการปลูกผักเป็นอาชีพเสริม ชุมชนบาเจาะมีฐานของเกษตรกรที่ปลูกผักรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนจำนวน 40 คน โดยมีเกษตรกรคนรุ่นใหม่ (Young Smart Farmar) เป็นแกนนำของกลุ่ม ที่มีเป้าหมายผลิตอาหารปลอดภัยป้อนตลาดในพื้นที่จังหวัดยะลา กลุ่มมีแกนนำคณะกรรมการ 7 คน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบแต่ละด้านตามแผนงานกิจกรรมของกลุ่มได้แก่ ด้าน 1) การผลิตเห็ดหลายหลายชนิด 2) การผลิตพืชผักปลอดภัย 3) การผลิตทุเรียนคุณภาพ 4) การแปรรูปอาหาร และ5) ด้านเชื่อมการตลาดกับผู้ประกอบการ ในการดำเนินการด้านปลูกผักปลอดภัย กลุ่มมีแนวคิดจะผลิตผักอินทรีย์ แต่ระยะแรกเริ่มจะใช้การรับรองแบบมาตรฐานผักปลอดภัย GAP รูปแบบปลูกจะปลูกในแปลงกลางพื้นที่จำนวน 7 ไร่ และกระจายพื้นที่ของสมาชิกปลูกบนดินและปลูกในถุงกระสอบอย่างน้อยครัวเรือนละ 100 กระสอบต่อรอบการผลิต
สภาพปัญหา ด้านฐานคิดเกษตรกรมีการร่วมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชน สมาชิกยังไม่ให้ความสำคัญในการมาประชุมกลุ่มเท่าที่ควร การปลูกผักจะเริ่มจากผักที่ปลูกง่าย และมีตลาด เช่น ผักบุ้ง แตงกวา ต้องการองค์ความรู้ในการผลิตให้ได้มาตรฐาน ด้านปัจจัยการผลิต คณะกรรมการเป็นคนรุ่นใหม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในแปลง สามารถค้นหา ศึกษาข้อมูลได้ดี มีพื้นที่ 7 ไร่ สำหรับเตรียมปลูกผัก ต้องความรู้การทำปุ๋ยชีวภาพ สารชีวภัณฑ์ การปรุงดินสำหรับปลูกผักในภาชนะ ในโรงเรือน หรือในพื้นที่จำกัด ด้านกลไกทำงาน ในกลุ่มจะมีคณะกรรมการที่มีหน้าที่เชื่อมด้านตลาด มีเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรมพัฒนา เรียนรู้กับหน่วยงานราชการอยู่ตลอด และด้านฐานคิดผู้บริโภค ยังไม่เข้าถึงผักปลอดภัย หาซื้อได้เฉพาะจุด เฉพาะวัน เช่น จุดตลาดเขียวหลังเกษตร มีขายวันอังคารกับวันพฤหัสบดีเฉพาะคนเมืองยะลาได้ซื้อ ผู้บริโภคบางคนสั่งออนไลน์ซื้อตรงจากเกษตรกรแต่ชนิดผักไม่หลายหลายส่วนใหญ่จะเป็นผักสลัด กรีนโอ๊ต เรดโอ๊ต การหาซื้อยังหายากสำหรับผู้บริโภค ผักปลอดภัยไม่ค่อยสวย ขายยากสำหรับผู้ผลิต ซึ่งต้องมีการประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้มากขึ้น
ดังนั้นจากสถานการณ์ดังกล่าว วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตอาหารปลอดภัย ตำบลบาเจาะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพปลูก กิน ผักปลอดภัยเพื่อความยั่งยืน ตำบลบาเจาะ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง และเพื่อให้เกษตรกรสามารถบริโภคและจำหน่ายผักที่ปลอดภัย เพิ่มรายได้ครัวเรือนได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ข้อที่ 3 ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ 1 มีคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 มีโครงสร้างคระกรรมการและหน้าที่ชัดเจน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 มีทักษะความรู้การวางแผนการผลิตตามความต้องการของตลาดการรับรองมาตรฐานGAP

100.00
2 เพื่อให้เกษตรกรสามารถบริโภคและจำหน่ายผักที่ปลอดภัย เพิ่มรายได้ครัวเรือนได้

ผลลัพธ์ที่ 2 มีวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรที่เข้มแข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 มีสมาชิกกลุ่มชัดเจน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 สมาชิกมีความรู้การผลิตผักปลอดภัยและมาตรฐาน GAP ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 เกิดแผนการทำงานเชื่อมโยงร่วมกับภาคีเครือข่ายในการหนุนเสริมความรู้ การหนุนเสริมความรู้การปลูกผักปลอดภัยการผลิตผักตามความต้องการของตลาด และมาตรฐาน GAP ให้กับสมาชิก ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.4 มีข้อมูลผักที่ตลาดต้องการ ซื้อ มาจากนอกพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.5 มีข้อมูลตลาดทั้งใน-นอก พื้นที่ที่ต้องนำเข้าหรือซื้อมาจากนอกพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.6 มีแผนการผลิต ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.7 กติกาในกลุ่ม

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มประชากรที่จะเข้าร่วมดำเนินงานในโครงการ 40 -
ตัวแทนเกษตรกรคนรุ่นใหม่ ปราชณ์ชุมชนและกลุ่มอื่นๆที 10 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66
1 กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ(21 พ.ค. 2565-21 พ.ค. 2565) 16,480.00                        
2 กิจกรรมที่ 2 อบรมและวางแผนการผลิตตามมาตรฐาน GAP(4 ต.ค. 2565-4 ต.ค. 2565) 34,920.00                        
3 กิจกรรมที่ 3 kick off ปลูกผักปลอดภัย(8 ต.ค. 2565-8 ต.ค. 2565) 20,200.00                        
4 4. กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการผลิตและจัดทำข้อมูลเป็นฐานเรียนรู้(10 ต.ค. 2565-10 ต.ค. 2565) 12,000.00                        
5 กิจกรรมที่ 5 เวทีสรุปโครงการ(10 ต.ค. 2565-10 ต.ค. 2565) 7,000.00                        
6 กิจกรรมที่ 6 สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(22 ต.ค. 2565-22 ต.ค. 2565) 10,000.00                        
รวม 100,600.00
1 กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 92 16,480.00 7 16,900.00
3 มิ.ย. 65 กิจกรรม 1.1 ประชุมคณะทำงาน 7 2,120.00 2,120.00
17 มิ.ย. 65 กิจกรรม 2.1 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 7 1,820.00 1,820.00
30 มิ.ย. 65 กจิกรรม 2.2 ประชุบคณะกรรมการ ครั้งที่ 2 7 1,820.00 1,820.00
14 ก.ค. 65 กจิกรรม 2.3 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 7 1,820.00 1,820.00
27 ก.ค. 65 กิจกรรม 4 เปิดรับสมัครสมาชิกใหม่ 50 6,580.00 7,000.00
30 ก.ค. 65 กิจกรรม 2.4 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 7 1,820.00 1,820.00
4 ส.ค. 65 กิจกรรม 3 คณะทำงานสำรวจข้อมูลของผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 7 500.00 500.00
2 กิจกรรมที่ 2 อบรมและวางแผนการผลิตตามมาตรฐาน GAP กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 160 34,920.00 4 35,820.00
31 ส.ค. 65 กจิกรรม 2.1 การตรวจแปลงเกษตรกรก่อนการปลูก 10 1,620.00 1,620.00
14 ก.ย. 65 กิจกรรม 2.2 กิจกรรมอบรมเกษตรกร 50 8,900.00 7,500.00
17 ก.ย. 65 กจิกรรม 2.4 จัดทำแผนการผลิตของสมาชิกและกลุ่ม 50 7,500.00 8,500.00
6 ต.ค. 65 กจิกรรม 2.3 อบรมพัฒนา เพื่อยกระดับกลุ่ม โดยการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้ พื้นที่ต้นแบบวิสาหกิจชุมชน (สวนนูรีสฟาร์ม ลำใหม่) 50 16,900.00 18,200.00
3 กิจกรรมที่ 3 kick off ปลูกผักปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 20,200.00 3 22,380.00
5 ม.ค. 66 กิจกรรม 3.3 เวที ติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ARE ครั้งที่1 50 500.00 1,500.00
4 ก.พ. 66 กิจกรรม 3.2 กิจกรรมตรวจแปลง รวบรวมข้อมูลการผลิตเพื่อรับรองมาตรฐาน 10 2,200.00 1,540.00
2 - 11 มี.ค. 66 กิจกรรม 3.1 ปลูกผักปลอดภัย kick off ปลูกผักปลอดภัย 50 17,500.00 19,340.00
4 4. กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการผลิตและจัดทำข้อมูลเป็นฐานเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 12,000.00 2 13,000.00
17 มี.ค. 66 ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่2 50 500.00 1,500.00
18 มี.ค. 66 ติดตามผลการผลิต 50 11,500.00 11,500.00
5 กิจกรรมที่ 5 เวทีสรุปโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 7,000.00 2 8,000.00
30 มี.ค. 66 ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่3 50 500.00 1,500.00
31 มี.ค. 66 เวที่สรุป ปิดโครงการ 50 6,500.00 6,500.00
6 กิจกรรมที่ 6 สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 11 10,000.00 9 5,045.68
1 เม.ย. 65 เวที่พัฒนาข้อเสนอโครงการย่อย ปี2565 2 500.00 500.00
29 เม.ย. 65 เปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
5 พ.ค. 65 เวที่ปฐมนิเทศโครงการย่อย ปี2565 2 500.00 500.00
21 พ.ค. 65 เวที่เรียนรู้การทำจัดรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ 2 500.00 500.00
1 มิ.ย. 65 คีย์ข้อมูลรายงานผลเข้าสู่ระบบ 1 2,000.00 2,000.00
17 ก.ย. 65 การประชุมเวที่การประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE Node) ครั้งที่ 1 2 500.00 500.00
24 ก.ย. 65 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 7.29
22 ต.ค. 65 ประชุมเวทีการประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 2 500.00 500.00
25 มี.ค. 66 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 38.39
31 มี.ค. 66 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ เวที Node 0 5,500.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรคนรุ่นใหม่มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดการข้อมูลและวางแผนการผลิต       2. มีทักษะ ความรู้เกี่ยวกับแปลงปลูก ตามความต้องการของตลาด การรับรองมาตรฐาน GAP       3. มีการติดตามผลการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการทุกๆ 1 เดือน     4. มีการติดตามประชุมกับสมาชิกเกษตรกรคนรุ่นใหม่ ทุกๆ 4 เดือน
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2565 20:39 น.