directions_run

โครงการ บ้านฉางผลิตเครื่องแกงปลอดภัยสร้างรายได้ ใส่ใจคุณภาพชีวิตลดโรค

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการ บ้านฉางผลิตเครื่องแกงปลอดภัยสร้างรายได้ ใส่ใจคุณภาพชีวิตลดโรค ”

หมู่ที่ 2 บ้านฉาง ต.ควนมะพร้าว

หัวหน้าโครงการ
นางพรประไพ สงขาว

ชื่อโครงการ โครงการ บ้านฉางผลิตเครื่องแกงปลอดภัยสร้างรายได้ ใส่ใจคุณภาพชีวิตลดโรค

ที่อยู่ หมู่ที่ 2 บ้านฉาง ต.ควนมะพร้าว จังหวัด ภาคใต้

รหัสโครงการ 65-10018-25 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2023


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ บ้านฉางผลิตเครื่องแกงปลอดภัยสร้างรายได้ ใส่ใจคุณภาพชีวิตลดโรค จังหวัดภาคใต้" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 2 บ้านฉาง ต.ควนมะพร้าว

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ บ้านฉางผลิตเครื่องแกงปลอดภัยสร้างรายได้ ใส่ใจคุณภาพชีวิตลดโรค



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ บ้านฉางผลิตเครื่องแกงปลอดภัยสร้างรายได้ ใส่ใจคุณภาพชีวิตลดโรค " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านฉาง ต.ควนมะพร้าว รหัสโครงการ 65-10018-25 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 79,900.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในการดูแล สุขภาพและปลูกผักไว้บริโภค ระยะที่ 3 ปี2564 – ปัจจุบัน (23 เม.ย.65) ผู้ป่วยยืนยันทั้งหมด 846 คน กําลัง รักษา 90 คน หายป่วย 724 คน เสียชีวิต 2 คน กลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีน 8,093 คน เข็มที่ 1 ฉีดแล้ว 7,376 คน คิดเป็น 91.14% เข็มที่ 2 ฉีดแล้ว 7,132 คน คิดเป็น 88.13% กลุ่มเสี่ยงกักตัวครบตาม กําหนด ส่งต่อ เข้าสู่การรักษาได้ทันเวลา ผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 ในช่วงแรกมีการไม่เข้าใจ มีความเห็นแตกต่าง ในที่สุดการจัดการ แบบมีส่วนร่วมสามารถบริหารจัดการฉีดวัคซีนเชิงรุก เคาะประตูบ้านชวนไปฉีดวัคซีน การค้นหาผู้สัมผัสเชิงรุก โดยวิธีตรวจ RT PCR และการตรวจโดยวิธีATK โดยเจ้าหน้าที่หรือทีมสอบสวนโรค SRRT มาจาก ผอ.รพสต. เจ้าหน้าที่ รพสต. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตําบลควนมะพร้าว ทั้งนี้โดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันขับเคลื่อนกับคณะทํางานของตําบล และร่วมประสานสนับสนุนงบประมาณร่วมกัน ในทุกระดับที่เกี่ยวข้อง เป็นที่มาของกิจกรรมเด่นเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของตําบลควนมะพร้าว การดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดต่อจุดเริ่ม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด19) คณะกรรมการควบคุมโรค ตําบล คือ รพ.สต. อบต. ฝ่ายปกครอง และกลุ่ม อสม. ภาคประชาชน เป็นกลไกหลัก สร้างการทํางานแบบมีส่วน ร่วมกันทุกภาคส่วน ทํางานร่วมกัน มีเป้าหมาย การเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดต่อในระหมู่บ้าน ระดับตําบล ของ ตําบลควนมะพร้าว โดยมีการแบ่งบทบาทการทํางานตามภารกิจลดการเกิดโรคติดต่อ กิจกรรมที่ดําเนินการ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ โดยการตั้งศูนย์ ประสานงานตําบลควนมะพร้าว บริหารจัดการศูนย์ตามรูปแบบที่รัฐกําหนด โดยในการปฏิบัติงาน จะทํางาน ร่วมกันระหว่าง นักปกครอง เจ้าหน้าที่ตํารวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. มีการทํางานเป็น 3 กะ หมุนเวียนกันไป ซึ่งนักปกครองที่ปฏิบัติหน้าที่จะเป็นนักปกครองกํานัน ผู้ใหญ่บ้านฯลฯ ของตําบลควนมะพร้าว เป็นผู้รับผิดชอบ 2.การสื่อสารด้วยวิธีการต่างๆการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติเพื่อรับมือ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โดยใช้สื่อและประกาศที่รัฐส่วนกลางจัดทําให้ ทําป้ายประชาสัมพันธ์ ประกาศ ตามหอกระจายข่าวของหมู่บ้านทั้ง 16 หมู่บ้าน รถแห่กระจายเสียง จากการสนับสนุนของ อบต.ควนมะพร้าว และการสื่อสารผ่านช่องทางกลุ่ม การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระยะผ่อนคลายเกิดผลกระทบ ด้านพฤติเศรษฐกิจ ประชาชนใน ชุมชนจะว่างงาน ไม่มีอาชีพเสริม มีการใช้จ่ายเงินเกินตัว และประชาชนในหมู่บ้านมีการศึกษาต่ํา เป็นผู้สูงอายุ เป็นส่วนใหญ่ ประชากรมีการทําบัญชีรายรับรายจ่ายน้อย รูปแบบในการบริโภคอาหารจะเป็นการซื้ออาหารจาก ตลาดเป็นหลักในรูปแบบอาหารถุง ร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด เนื่องด้วยจากสะดวกต่อการบริโภค ด้าน สิ่งแวดล้อม ภายในหมู่บ้าน มีขยะจํานวนมาก เพราะประชาชนขาดความรู้การคัดแยกขยะ มีการปุ๋ยและ สารเคมีในการทําการเกษตร ทําให้น้ําและผิวดินเสีย อากาศมีมลพิษปนเปื้อนจากการเผาขยะ ด้านสังคม ข้อบังคับของหมู่บ้านบางข้อยังไม่ชัดเจน แหล่งเงินทุนในหมู่บ้านไม่เพียงพอ ทําให้คนในหมู่บ้านไปกู้หนี้ยืมสินทั้ง ในและนอกระบบ และยังไม่มีหน่วยงานที่ส่งเสริมการออกกําลังกาย ให้คนในชุมชนอย่างจริงจัง ทําให้มีคนป่วยมี โรคประจําตัวเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ปัญหาของประชากรในพื้นที่ มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ โดยสาเหตุมาจาก มีงานทําอย่างเดียว ประชากร มีพื้นที่บริเวณน้อย ไม่ค่อยมีการเกษตร ทางหน่วยงานไม่ค่อยเข้ามาดูแล ประชาชนชอบความสะดวก ขาด ความรู้ในการประกอบอาชีพ และการดูแลสุขภาพของตนเอง จึงเป็นเหตุให้รายจ่ายจากการดํารงชีวิตประจําวัน และรายจ่ายจากการประกอบอาชีพ ส่งผลต่อการเกิดหนี้สินในครัวเรือน เนื่องจากบางครัวเรือนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกินความจําเป็น ทั้งนี้เกิดจากการที่ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายในการดํารงชีวิตประจําวันมากกว่ารายรับที่ได้ โดยดูจาก การเก็บข้อมูลครัวเรือน 42 ครัวเรือน (1 เดือน ) พบว่าครัวเรือนมีรายได้ เพียงพอ ต่อรายจ่ายจํานวน 15 ครัวเรือน ครัวเรือนมีรายได้ มากกว่า ต่อรายจ่าย จํานวน 7 ครัวเรือน ครัวเรือนมีรายได้ น้อยกว่า ต่อ รายจ่ายจํานวน 18 ครัวเรือน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 เพื่อสร้างและพฒั นาแกนนาํกลุ่ม การผลิต เครื่องแกงสร้างรายได้จาก วตัถุดิบในชุมชน
  2. 2 เพื่อใหก้ลุ่มเครื่องแกงเป็นกลไก ขบั เคลื่อนโดยใชข้อ้มูลจากความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพขับเคลื่อนกลุ่ม
  3. 3 เพื่อสร้างช่องทางเพิ่มรายได/้ปรบพฤติกรรมสุขภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.
  2. กิจกรรมประชุมสร้างความเข้าใจโครงการและกิจกรรม
  3. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
  4. ถอนเงินเปิดบัญชี
  5. 1. ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการและกิจกรรมโดยคณะทำงาน 5 คน
  6. 3. อบรมให้ความรู้และวิเคราะห์ความรอบรู้เรื่องการเงิน และสุขภาพของกลุ่ม
  7. 7. แกนนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
  8. 2. อบรมให้ความรู้ศึกษาดูงานการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนและการผลิตเครื่องแกง กลุ่มวิสาหกิจบ้านหูยาน ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
  9. 5. กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน กิจกรรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มและกิจกรรมปรับเปลี่ยนสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส
  10. ุ6. พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่านตลาดระบบออนไลน์
  11. 4. กิจกรรมทำแผนการดำเนินงานโดยใช้ข้อมูลแผนปฏิบัติการเงินและแผนปรับเปลี่ยนสุขภาพ
  12. 8. การประเมินผล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE2)
  13. ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำรายงานแกิจกรรมโครงการ
  14. กิจกรรมปฐมนิเทศน์
  15. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  16. กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน
  17. การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE1)
  18. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
แกนนำในพื้นที่ 5

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนํา 5 คนและกลุ่มวิสาหกิจฯมีความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ สามารถนํามาเป็นเครื่องมือไปขยายผล สู่ครอบครัว กลุ่มองค์กร และสู่ชุมชน แก้ปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจและด้านสุขภาพ
  2. แกนนํา 5 คนและกลุ่มวิสาหกิจฯ นําความรอบรู้ทางด้านการเงินและสุขภาพ เชื่อมโยงการทํางานกับหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในระดับบุคคล กลุ่ม ชุมชน ได้อย่างปกติโดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่เป็นทุนตั้งต้น
  3. เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. แกนนํา กลุ่ม และชุมชนยังคงดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่องจากการ ทํางานร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือ และเชื่อมต่อสู่เป็นนโยบายท้องถิ่นต่อไป

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมปฐมนิเทศน์

วันที่ 17 กันยายน 2022 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.การเรียนรุ้และทำความเข้าใจรายละเอียด 2.คลี่โครงการโดยมีการทำรายละเอียดโครงการ ทำตัวชี้วัด และรายละเอียดของกิจกรรม 3.เรียนรู้การลงบันทึกตัวเว็บไซด์คนสร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โดยคณะทำงานเข้าร่วมประชุม 2 คน คือ นางพรประไพ  สงขาว และนางสาวเพ็ญศรี  ไชยพันธ์มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารโครงการย่อย  การจัดเก็บข้อมูล  การจัดการเรื่องการเงิน  การบันทึกข้อมูลรายละเอียดโครงการต่างๆ

 

2 0

2. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 21 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานผู้เปิดบัญชี 2 ใน 3 ไปทำการถอนเงินเปิดบัญชี ณ ธนาคารกรุงไทยสาขาพัทลุง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เงินเปิดบัญชีจำนวน 500 บาท ถอนออกจากเล่มสมุดโครงการเรียบร้อย

 

0 0

3. 1. ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการและกิจกรรมโดยคณะทำงาน 5 คน

วันที่ 25 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงทำความเข้าใจ ที่มาของโครงการ  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. สำนัก 6
แนะคณะทำงานและทีมพี่เลี้ยงโครการ ชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์  เป้าหมายโครงการ  กิจกรรมและงบประมาณ พี่เลี้ยงโครงการ  แนะนำตัวเอง  กระบวนการรวมกลุ่ม การบริหารกลุ่มและดำเนินงาน
การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อรู้สถานทางการเงินของแต่ละครัว นำมาวางแผนการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สมาชิกร่วมให้ข้อมูลผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบการทำเครื่องแกง  เช่น  ตะไคร้  พริก  ขมื้น  กันวางแผนการปลูกและรวบรวมข้อมูล  มาใช้เป็นวัตถุดิบมาใช้ในการทำเครื่องแกงของกลุ่มเครื่องแกง คณะทำงานและสมาชิกร่วมกำหนดแผนงานต่อไป  คือ การศึกษาดูงานณ บ้านหูยาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานและสมาชิก 35 คน เข้าใจโครงการบ้านฉางผลิตเครื่องแกรง ปลอดภัยสร้างรายได้ ใส่ใจคุณภาพชีวิตลดโรค และพร้อมร่วมดำเนินการโครงการให้สำเร็จตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์
  2. คณะทำงานและสมาชิกได้มีความรู้เรื่องของบัญชีครัวเรือน สามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ มีความตั้งใจทำบัญชีครัวเรือนของแต่ละครัวเรือน
  3. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนของครัวเรือนและช่วยเหลือกันในชุมชน ให้มีอาหารสำรองรับมือกับภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าเป็นโควิด หรือน้ำท่วม และการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าพืชผัก และมีการแปรรูป โดยการรวมกลุ่มจัดตั้งผลิตเครื่องแกงปลอดภัยลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้กับชุมชน
  4. ได้มีแผนการศึกษาดูงาน บ้านหูยาน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ร่วมดูงาน 35 คน คณะทำงานแบ่งบทบาทหน่้าการทำงานในการประสานดูงาน ติดตามผู้เข้าร่วม ประสานรถ เตรียมรายละเอียดกำหนดการในการดูงาน

 

30 0

4. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2022 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. อบรมการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  2. สามารถวางแผนทางการเงินได้
  3. สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 2 คน คือ นางพรประไพ สงขาวและ นางสาวเพ็ญศรี ไชยพันธ์  มีความรอบรู้เรื่องสุขภาพและการเงินสามารถนำไปขยายผลให้กับสมาชิกรับทราบและปฏิบัติได้

 

0 0

5. 3. อบรมให้ความรู้และวิเคราะห์ความรอบรู้เรื่องการเงิน และสุขภาพของกลุ่ม

วันที่ 20 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ใช้บันทีกทางการเงินของธนาคารออมสิน เพื่อเก็บข้อมูลรายรับรายจ่ายของแต่ละบุคคล
  2. ให้สมาชิกชี้แจงรายรับรายจ่ายของตนเองว่ามาจากส่วนไหน  อะไรที่จะสามารถเพิ่มหรือลดได้
  3. สรุปรายละเอียดของแต่ละบุคคลในการที่จะมีการปลูกวัตถุดิบในการเครื่องแกงเพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่ม
  4. มีการตรวจสุขภาพ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค เพื่อไปเป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมให้มีแนวโน้มในการเกิดโรคลดลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. สมาชิกทุกคนเข้าใจวิธีการเกี่ยวกับ การบันทึกข้อมูลด้านรายรับรายจ่ายของตนเอง ในแต่ละวันและสรุปมาเป็นรอบเดือน
  2. สมาชิกรู้ด้านสุขภาพของตนเอง และมีความเข้าใจในวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการเกิดโรค หรือเป็นการช่วยบรรเทา
  3. สมาชิกรู้วิธีการที่จะลดรายจ่าย สร้างรายได้ จากการทำโครงการโดยเริ่มจากการปลูกวัตถุดิบเพื่อจำหน่าย และมีการผลิตเครื่องแกงเพื่อให้ในครัวเรือนของตนเอง ส่งผลให้มีรายได้  และ ลดความเสี่ยงในเรื่องโรคต่างๆ

 

30 0

6. กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.  การนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานและผลลัพทธ์ที่เกิดขึ้น ในห้วง 6 เดือนของการดำเนินงานโครงการช่วงที่ 1 2.  แลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงานและสรุปบทเรียนของแต่ละพื้นที่ 3.  การสรุปเกี่ยวกับการบันทึกเอกสารทางการเงินและการบันทึกในเวปคนสร้างสุข ในการรายงานผล 4.  การสรุปกิจกรรมภาพรวมของการแลกเปลี่ยนทั้ง 2 วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.  คณะทำงาน จำนวน 2 คนรายงานผลการดำเนินงานในห้วง 6 เดือนที่ผ่านมา 2.  ่คณะทำงานได้รับทราบและคำแนะนำเกี่ยวกับการแนบเอกสารรายงานผลทางการเงินและการบันทึกข้อมูลใน เวป

 

0 0

7. 2. อบรมให้ความรู้ศึกษาดูงานการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนและการผลิตเครื่องแกง กลุ่มวิสาหกิจบ้านหูยาน ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ติดต่อประสานทางพื้นที่ตำบลนาท่อมในการจะไปศึกษาดูงาน่ วิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน การผลิตปุ๋ยไส้เดือนและการผลิตเครื่องแกง
  2. ทำหนังสือเพื่อไปศึกษาดูงานและทำหนังสือเชิญวิทยากร
  3. ประสานทางสมาชิก พร้อมทั้งติดต่อเหมารถในการไปศึกษาดูงาน
  4. คณะทำงาน 5 คน พร้อมด้วยสมาชิก ไปศึกษาดูงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทางสมาชิกได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน และการผลิตเครื่องแกง
  2. สมาชิกทราบวิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ในการนำไปใช้ในการผลิตเครื่องแกง พร้อมทั้งวิธีการปลูกวัตถุดิบต่างๆ เพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ
  3. สมาชิกรู้หลักการวิธีการ และสามารถนำไปปรับเปลี่ยนในกลุ่มของตนเองได้

 

30 0

8. การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE1)

วันที่ 30 มิถุนายน 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะผู้จัดทำโครงการ  แกนนำ พร้อมด้วยสมาชิก ทั้งหมดเข้าร่วมกิจกรรมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งทางด้านสุขภาพและบัญชีครัวเรือน  ว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางใด  หรือมีปญหาอะไรบ้าง  และจากการมีการนำวัตถุดิบไปปลูก  มีผลดีและได้รับผลผลิตมากพอหรือไม่อย่างไร  พอเพียงกับการนำมาจำหน่ายให้กับกลุ่มหรือไม่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตั้งแต่เริ่มโครงการจนมาถึงระยะกล่างโครงการ  สมาชิกได้มาแลกเปลี่ยน โดยมีการจดบันทึกรายรับรายได้ในแต่ละวันของครัวเรือน  เพื่อนำผลไปยังการลดรายจ่ายสร้างรายได้ให้กับตนเองได้  และเกี่ยวกับด้านสุขภาพ  แต่ละคนได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภค โดยงดอาหารรสจัด  ลดการซึ้อแกงถุง  มีการทำเครื่องแกงกินเอง  และรับประทานพื้ชผักที่ได้ปลูกเองที่บ้าน  เหลือกินนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้ครัวเรือน

 

30 0

9. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 15 กรกฎาคม 2023 เวลา 11:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.การจัดบู๊ทนำเสนอผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่เกิดขึ้น 2.แลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ 3.การนำผลการแลกเปลี่ยน แต่ละกลุ่มมาสรุปมานำเสนอในวงใหญ่ 4.การถอดบทเรียนโครงการตามหัวข้อย่อยดังนี้ การเลือกกลุ่มเป้าหมาย / แกนนำควนได้รับการพัฒนาทักษะเรื่องอะไร / การจัดการข้อมูลตามบันไดผลลัพธ์ / การทำงานร่วมกับทีมสนับสนุนวิชาการมีแนวโน้มอย่างไร / ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยง  จากหน่วยงานและภาคีระดับพื้นที่เป็นอย่างไร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะทำงาน จำนวน  2  คน  ได้สรุปผลลัพธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผลลัพธ์  26  ข้อ สู่กลุ่มย่อย 2.ได้มีการสรุปและถอดบทเรียนตั้งแต่การเริ่มโครงการจนถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนการปิดโครงการ  สามารถที่จะเข้าใจ เรื่องสุขภาพ  และการเงินได้ดีขึ้น 2.คณะทำงานได้ทราบและดำเนินงานตามโครงการเพื่อจะสรุปและปิดโครงการตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด

 

2 0

10. 4. กิจกรรมทำแผนการดำเนินงานโดยใช้ข้อมูลแผนปฏิบัติการเงินและแผนปรับเปลี่ยนสุขภาพ

วันที่ 20 กรกฎาคม 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมทำแผนการดำเนินงานโดยใช้ข้อมูลทำแผนปฏิบัติการเงินและแผนปรับเปลี่ยนสุขภาพโดยให้แต่ละคนในกลุ่มเรียนรู้การกำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหา การเงิน และด้านสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดแผนการเงินของบุคคลและของกลุ่ม
2.เกิดแผนสุขภาพปรับเปลี่ยนลดโรคโดยสมาชิกแต่ละคนต้ั้งเป้าหมายสุขภาพตนเอง 3 เดือนค่อยมาติดตาม

 

30 0

11. 5. กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน กิจกรรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มและกิจกรรมปรับเปลี่ยนสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส

วันที่ 25 กรกฎาคม 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนกิจกรรม มอบหมายหน้าที่
2.ติดต่อประสานวิทยากร 3.วันทำกิจกรรมวิทยากรได้มาชี้แจงวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือน เพื่อนำมูลไส้เดือนไปใส่ในพืชผัก เกี่ยวกับการทำเครื่องแกง และพื้ชผักอื่นๆ ภายในคร้วเรือนได้  พร้อมชี้แจงหากมีการผลิตได้มาก ก็สามารถที่จะนำไปจำหน่ายได้ ทั้งมูลไส้เดือนและตัวไส้เดือนเอง  เพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบตรัว และเป็นการกินผักปลอดสารพิษทำให้สุขภาพดีขึ้น ตามหลัก 3 อ 2 ส 4.มีการลงมือปฏิบัติจริง ตามคำชี้แจงของวิทยากร โดยนำมูลวัวผสมกับหยวกกล้วย แล้วนำไส้เดือนใส่ลงไป 1 ต่อ 3 ของกะละมัง 5.สอนวิธีการทำถังขยะเปียก โดยนำถังไปเจาะก้น แล้วนำไปขุดหลุมฝังกลบ ให้เหลือขอบถังแค่นิดหน่อย แล้วปิดฝา  เพื่อนำเศษอาหารไปใส่ ช่วยในการย่อยสลายอาหารได้ 6.มีการแจกพันธ์ุผักสวนครัว ที่เป็นพืชในการทำเครื่องแกง ให้กับสมาชิกไปปลูก เพื่อนำวัตถุดิบมาจำหน่ายให้กับกลุ่ม เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง 7.ติดตามสรุปประเมินผลในการจัดทำกิจกรรมดังกล่าว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ช่วยในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ในการเพาะปลูก 2.ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ลดปริมาณขยะ และสามารถเป็นปุ๋ยไปในตัวได้ 3.สร้างรายได้เสริมให้แก่สมาชิก 4.ลดการว่างงาน

 

30 0

12. 8. การประเมินผล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE2)

วันที่ 31 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตามการดำเนินงานกลุ่มเครื่องแกง  ถึงสมาชิกครัวเรือนจำนวน 24 ครัวเรือน  ปลูกพืช-ผัก ส่งกลุ่มโดยกลุ่มไม่ชื้อจากภายนอก สมาชิกมีรายได้เพิ่ม กลุ่มมีผลผลิตเพิ่มและผลิตภัณฑ์จำหน่ายเพิ่มรายได้ และครัวเรือนจำนวน 24 ครัวเรือน  มีช่องทางตลาดจำหน่ายเครื่องแกงและวัตถุดิบเครื่องแกง มากกว่า 2 ช่องทาง และติดตามพฤติกรรมด้านสุขภาพ/ด้านการเงินของกลุ่มและบุคคลดีขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงานกลุ่มเครื่องแกง  ถึงสมาชิกครัวเรือนจำนวน 24 ครัวเรือน  ปลูกพืช-ผัก ยังไม่ได้ส่งกลุ่ม  โดยกลุ่มต้องชื้อจากภายนอก ในระยะต้น  สมาชิกมีรายได้เพิ่มจากการรวมกลุ่มมีผลผลิตเครื่องแกง ร่วมกันผลิตแบ่งกันกิน  กลุ่มและสมาชิกเรียนรู้และมีช่องทางตลาดจำหน่ายเครื่องแกงและวัตถุดิบเครื่องแกง มากกว่า 2 ช่องทาง และติดตามพฤติกรรมด้านสุขภาพ/ด้านการเงินของกลุ่มและบุคคลดีขึ้นจากสมาชิกมีความรู้และพิถีพิถันในการเลือกซื้อวัตถุดิบ

 

30 0

13. ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำรายงานแกิจกรรมโครงการ

วันที่ 5 สิงหาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานความก้าวหน้าของโครงการและสรุปการเงินเพื่่อปิดโครงการ

 

2 0

14. ุ6. พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่านตลาดระบบออนไลน์

วันที่ 13 สิงหาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. สอนวิธีถ่ายภาพ  และการจัดผลิตภัณฑ์
  2. สอนวิธีการใช้แอป Canva  การฝึกปฏิบัติการหารูปและการจัดวาง พร้อมทั้งตัดต่อ
  3. การเขียนคอนเท้นส์ เพื่อให้ดึงดูดลูกค้า
  4. การทำ Tik Tok  การส่งวีดีโอขณะทำ และวีดีโอผลิตภัณฑ์ แล้วสามารถนำไปลง Tik Tok ได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะแกนนำและสมาชิก สามารถเรียรรู้ถึงช่องทางการจัดจำหน่าย ในการโพสลงโซเชียล  นอกเหนือจากการจำหน่ายยังท้องตลาดและร้านค้าปัจจุบัน  และได้เรียนรู้วิธีการถ่ายภาพ  เลือกภาพ และการจัดวาง  ก่อนการโพส

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ต้องสร้างความต่อเนื่อง ควรแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนด้านการเงินและสุขภาพของกลุ่มเป็นระยะในการปรับปรุงกลุ่มและผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อความต่อเนื่องและยังยืน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1 เพื่อสร้างและพฒั นาแกนนาํกลุ่ม การผลิต เครื่องแกงสร้างรายได้จาก วตัถุดิบในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.1 เกิดแกนนาํที่มีศกัยภาพจาํนวน 5 คน 1.2 เกิดเครือข่ายสมาชิกจาํนวน 25 คน 1.3 เกิดกลุ่มเครื่องแกงที่สร้างรายได้ ต่อเนื่องแก่สมาชิก
25.00 30.00

ไม่สะดวกในการร่วมกลุ่มแต่เป็นสมาชิกขายวัตถุดิบ

2 2 เพื่อใหก้ลุ่มเครื่องแกงเป็นกลไก ขบั เคลื่อนโดยใชข้อ้มูลจากความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพขับเคลื่อนกลุ่ม
ตัวชี้วัด : 2.1 สมาชิกกลมุ่ มีการจดัทาํบญั ชีครัวจาํนวน 30 ครัวเรือน 2.2 การรวมกลุ่มจดวสิาหกิจผลิตเครื่องแกง 1 กลุ่ม ที่มีผลผลิตอยา่ งนอ้ย 2ผลิตภณั ฑ์คือเครื่องแกง ปุ๋ย ผกั - สมาชิกปลูกวตัถุดิบส่งกลุ่มวสิาหกิจฯใชใ้นการผลิตเครื่องแกงอยา่ งเพียงพอและเหลือจาํหน่ายเป็นรายไดบ้ ุคคล และกลุ่มวสิาหกิจ - สมาชิกในกลุ่มทุกคนมีขอ้ ตกลงการออมเงินและออมสวสัดิการเป็นกฎกติกาของบุคคลและกลุ่ม และมีการบนั ทึกบญั ชี ครัวเรือนและของกลุ่ม - กติกาสมาชิกทุกคนมีสมุดการคดั กรองพฤติกรรมทางสุขภาพ ทาํกิจกรรมทางกายลดโรค
30.00 30.00

แกนนำและกลุ่มมีความรู้ทั้งการเงินและสุขภาพ ส่งปฎิบัติการได้บางส่วน ต้องใช้เวลาในการติดตาม แลกเปลี่ยนเติมความรู้และฝึกปฏิบัติให้ต่อเนื่อง

3 3 เพื่อสร้างช่องทางเพิ่มรายได/้ปรบพฤติกรรมสุขภาพ
ตัวชี้วัด : -กลุ่มมีผลิตภณั ฑม์ ากกวา่ 2 ผลิตภณั ฑ์คือเครื่องแกง ปุ๋ยไสเ้ดือน และผกัพ้ืนบา้น -กลุ่มมีช่องทางการขายมากกวา่ 2 ช่องทางช่องเพจ ไลน์เฟสบุค -กลุ่มดาํ เนินการตามแผนกิจกรรมทางกายลดโรคตามแนวทาง 3อ๒ส และแผนติดตาม
24.00 24.00

ต้องสร้างความต่อเนื่อง ควรแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนด้านการเงินและสุขภาพของกลุ่มเป็นระยะในการปรับปรุงกลุ่ม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 5 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
แกนนำในพื้นที่ 5 5

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1 เพื่อสร้างและพฒั นาแกนนาํกลุ่ม การผลิต เครื่องแกงสร้างรายได้จาก วตัถุดิบในชุมชน (2) 2 เพื่อใหก้ลุ่มเครื่องแกงเป็นกลไก ขบั เคลื่อนโดยใชข้อ้มูลจากความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพขับเคลื่อนกลุ่ม (3) 3 เพื่อสร้างช่องทางเพิ่มรายได/้ปรบพฤติกรรมสุขภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. (2) กิจกรรมประชุมสร้างความเข้าใจโครงการและกิจกรรม (3) กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (4) ถอนเงินเปิดบัญชี (5) 1. ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการและกิจกรรมโดยคณะทำงาน 5 คน (6) 3.  อบรมให้ความรู้และวิเคราะห์ความรอบรู้เรื่องการเงิน และสุขภาพของกลุ่ม (7) 7.  แกนนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง (8) 2.  อบรมให้ความรู้ศึกษาดูงานการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนและการผลิตเครื่องแกง กลุ่มวิสาหกิจบ้านหูยาน  ตำบลนาท่อม  อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง (9) 5.  กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน กิจกรรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มและกิจกรรมปรับเปลี่ยนสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส (10) ุ6.  พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่านตลาดระบบออนไลน์ (11) 4.  กิจกรรมทำแผนการดำเนินงานโดยใช้ข้อมูลแผนปฏิบัติการเงินและแผนปรับเปลี่ยนสุขภาพ (12) 8.  การประเมินผล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE2) (13) ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำรายงานแกิจกรรมโครงการ (14) กิจกรรมปฐมนิเทศน์ (15) อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (16) กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (17) การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE1) (18) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ บ้านฉางผลิตเครื่องแกงปลอดภัยสร้างรายได้ ใส่ใจคุณภาพชีวิตลดโรค จังหวัด ภาคใต้

รหัสโครงการ 65-10018-25

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางพรประไพ สงขาว )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด