ประชุมพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดกระบี่

by chonpadae @15 พ.ค. 54 14.25 ( IP : 119...3 ) | Tags : จับกระแสสมัชชา , กระบี่

ช่วงบ่ายวันที่ 4 พฤษภาคม 2554 ณ ห้องประชุมสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดกระบี่
          ทีมกลไกสมัชชาสุขภาพภาคใต้ นำโดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ คุณชัยพร  จันทร์หอม คุณจารึก ไชยรักษ์จาก สช.
คุณวินิจ ชุมนูรักษ์ และคุณเชภาดร จันทร์หอม จาก สจรส.ม.อ. เจ้าบ้านนำโดยผู้ประสานงานหลักได้แก่ คุณทวีชัย  อ่อนนวน
และมี รองนพ. สสจ.กระบี่ ผอ.สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดกระบี่ ตัวแทนจากพมจ. ตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติพื้นที่เขาพนม เข้าร่วมการประชุม
          อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เริ่มด้วยการเปิดกรอบความเข้าใจให้ความหมายสุขภาพ=สุขภาวะ ตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติปี 2550  ซึ่งมีความหมายครอบคลุม ทั้งด้านกาย จิต สังคม ปัญญา และมี 4 ระดับ ได้แก่ กาย จิต สังคม ปัญญา ซึ่งการที่จะไปถึงสุขภาวะได้ ต้องมี นโยบายสาธารณะ/ยุทธศาสตร์ /แผนในการดำเนินงาน ที่มาจากกระบวนการทำงานของภาคี 3 ส่วนทั้งภาคประชาชน  ภาควิชาการ และภาครัฐ/ท้องถิ่น ซึ่งที่ผ่านมานโยบายมักจะถูกกำหนดโดยรัฐจากส่วนกลางและมีการสั่งการลงมาสู่หน่วยงานในพื้นที่เป็น(top down)
            คำถามคือ ชุมชนหรือพื้นที่จะสามารถกำหนดนโยบายของพื้นที ?
ปัจจุบันตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ปี 2550 มีช่องทางให้ชุมชนพื้นที่สามารถกำหนดนโยบายสาธารณะได้ โดยผ่านการพัฒนานโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ  แต่ต้องมีการจัดกระบวนการถูกต้องตามหลักเกณฑ์
ซึ่งกระบวนการสมัชชาสุขภาพแบ่งได้เป็น กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดย
1.ต้นน้ำ : การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย
- การจัดทีมพหุภาคี
- การจัดทำข้อมูลสถานการณ์
- การเลือกประเด็น
- การจัดทีมทำงานประเด็นเพื่อการวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัย แนวทางการจัดการและทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย(ร่าง 1)
- การพิจารณาร่างข้อเสนอ(ร่าง1) โดยภาคีที่เกี่ยวข้อง
- ทีมทำงานประเด็น ทบทวนปรับปรุงเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย(ร่าง2) ส่งให้ภาคีที่เกี่ยวข้องพิจารณา
2.กลางน้ำ: การพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบาย(เวทีสมัชชาสุขภาพพื้นที่จังหวัด)
- ตัวแทนภาคีที่เกี่ยวข้อง(สมาชิกสมัชชาสุขภาพ)พิจารณา ร่างข้อเสนอ(ร่าง 2)
- มีฉันทามติต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย(ฉันทามติของสมาชิกสมัชชาสุขภาพ)
3.ปลายน้ำ: การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติและการประเมินผล
- การจัดทีมติดตาม ผลักดันมติ
- การแจ้งมติไปยังภาคีที่เกี่ยวข้องโดยหนังสือและการประชุมร่วมกับภาคีฯอันนำไปสู่การทำนโยบาย ยุทธศาสตร์
การจัดทำแผน การจัดทำโครงการ ของภาคีที่เกี่ยวข้อง
- การติดตามการปฏิบัติตามมติต่างๆจากภาคีที่เกี่ยวข้อง
- การประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติตามมติ
ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ
- สำหรับประเด็นในพื้นที่ที่จะสามารถใช้เป็นประเด็นของจังหวัดและสามารถสร้างอารมณ์ร่วม ได้แก่ ประเด็นจัดการภัยพิบัติ
- สำหรับการดำเนินงานที่จะสามารถทำได้ในช่วงที่เหลือสำหรับปีงบประมาณนี้จะเป็นการทำงานในกระบวนการต้นน้ำ
- ใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อน เช่น การจัดรายการวิทยุสัมภาษณ์ แกนนำ ผู้นำหัวหน้าส่วนของจังหวัด ท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อแนวทางแก้ไขการจัดการภัยพิบัติของจังหวัดกระบี่