directions_run

โครงการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 (น้ำจิ้ม) บ้านศาลาเชือก

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 (น้ำจิ้ม) บ้านศาลาเชือก
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-10
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านศาลาเชือก ม.6 ต.ศาลาใหม่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลอาซิซ โต๊ะเดร์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 082-8212334
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ nurfar2523@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะยูนัน มามะ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านศาลาเชือก ม.6 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.29722,101.992167place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
2 1 มี.ค. 2566 30 มิ.ย. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ก.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทรงอ้อมเป็นจำนวนมาก และเกิดปัญหาติดขัดในเรื่องการใช้ชีวิต การทำงาน การดำเนินธุรกิจ มีการปิดกิจการและลดพนักงาน ทำให้มีการว่างงาน ทำให้ส่งผลกระทบไปถึงปัญหารายได้ครัวเรือนของประชาชนทำให้เกิดภาวะตามมาคือ ขาดแคลนอาหาร ครอบครัวขาดรายได้ในการดำรงชีพ และบางรายไม่สามารถทำอาชีพอะไรได้เนื่องจากเคยประกอบอาชีพรับจ้างในต่างประเทศ จึงมีความคิดที่อยากจะกลุ่มสร้างผลิตภัณฑ์ในชุนชนบ้านศาลาเชือก ที่สามารถสร้างรายได้เสริมในช่วงวิกฤตินี้ ชุมชนบ้านศาลาเชือกมีกลุ่มแม่บ้านที่มีอาชีพเป็นหลัดในการหารายได้เพิ่มรวมกับหัวหน้าครอบครัว คืออาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้า ผ้าคลุม การค้าขาย แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ได้รับผลกระทบจากอาชีพ คือมีการลดการจ้างตัดเย็บ หรือถูกเลิกจ้าง การค้าขายต้องปิดกิจการ ทำให้กลุ่มแม่บ้านขาดรายได้เข้ามาใช้จ่ายในครอบเรือน ทำให้เกิดภาวะเครียด ความซึมเศร้าและการทะเลาะวิวาทภายในครอบครัว บางรายมีค่าใช้จ่ายสูงจึงเป็นการสร้างหนี้เพิ่มให้กับครอบครัว จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างกิจการ(ทำน้ำจิ้ม)
ชุมชนบ้านศาลาเชือกมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 469 หลังเรือน มีประชากรทั้งหมด 2012 คน มีประชากรที่เป็นศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธอยู่รวมกัน โดยมีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 446 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 1957 คน ประขากรนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 23 หลังคาเรือน จำนวนประขากร 55 คน บ้านศาลาเชือกเป็นหมู่บ้านชายฝังทะเล ติดคลองแม่น้าตากใบและพื้นที่เกษตร เป็นแหล่งประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน แต่เมื่อเข้าฤดูฝนและเกิดอุทกภัยก็จะทำให้ขาดรายได้กับครอบครัว และบางส่วนก็มีอาชีพรับจ้างทั่วไป เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 เข้ามาทำให้มีครัวเรือนที่ป่วยและต้องปิดหมู่ในบางพื้นที่ทีมีการแพร่ระบาดอย่างมาก จำนวน 102 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 21.78 เมื่อป่วยแล้วทำให้ประชากรต้องกักตัว และไม่สามารถไปทำงาน บางรายต้องตกงาน ทำให้ขาดรายได้ และร้านค้ามีการกักตุนอาหาร ขึ้นราคาสินค้าทำให้ และไม่กล้าที่จะออกไปจากชุชนไปยังตลาดเพราะสถานการณ์โควิด-19 บ้านศาลาเชือกได้มีการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ที่รับได้ผลกระทบ จากการร่วมกลุ่มของกลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน ในปีที่ผ่านได้มีการส่งเสริมการออมเงินแต่ละเดือนในกลุ่มทำให้มีเงินเก็บและในปีนี้ได้มีการเอาเงินออมส่งเสริมอาชีพในการจัดทำหมอนและจำหน่าย กลุ่มเยาวชนมีการจัดทำเสื้อจำหน่ายทำให้มีรายได้และได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านศาลาเชือกให้มีการออมเงินเพื่อใช้ในการพัฒนาอาชีโดยลดภาระการกู้ยืมจากแหล่งที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นชุนชนบ้านศาลาเชือก มีความต้องการพัฒนาทักษะด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีอยู่ในชุมชน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จึงได้มีการรวมตัวของสมาชิกในชุมชนเพื่อดำเนินการจัดหางบประมาณในการจัดทำโครงการ เพื่อเสริมสร้างและเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมให้สามารถปรับตัวได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างทัศนคติในการสร้างความสามัคคีและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นฐานพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนให้ประสบความสำเร็จ เป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ไขปัญหาสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่นอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ชุมชนบ้านศาลาเชือกเป็นชุมชนใหญ่ในตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีกลุ่มแม่บ้านที่มีอาชีพเป็นหลัดในการหารายได้เพิ่มรวมกับหัวหน้าครอบครัว คืออาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้า ผ้าคลุม การค้าขาย แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ได้รับผลกระทบจากอาชีพ คือมีการลดการจ้างตัดเย็บ หรือถูกเลิกจ้าง การค้าขายต้องปิดกิจการ ทำให้กลุ่มแม่บ้านขาดรายได้เข้ามาใช้จ่ายในครอบเรือน ทำให้เกิดภาวะเครียด ความซึมเศร้าและการทะเลาะวิวาทภายในครอบครัว บางรายมีค่าใช้จ่ายสูงจึงเป็นการสร้างหนี้เพิ่มให้กับครอบครัว จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างกิจการ(ทำน้ำจิ้ม)
ชุมชนบ้านศาลาเชือกมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 469 หลังเรือน มีประชากรทั้งหมด 2012 คน มีประชากรที่เป็นศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธอยู่รวมกัน โดยมีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 446 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 1957 คน ประขากรนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 23 หลังคาเรือน จำนวนประขากร 55 คน บ้านศาลาเชือกเป็นหมู่บ้านชายฝังทะเล ติดคลองแม่น้าตากใบและพื้นที่เกษตร เป็นแหล่งประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน แต่เมื่อเข้าฤดูฝนและเกิดอุทกภัยก็จะทำให้ขาดรายได้กับครอบครัว และบางส่วนก็มีอาชีพรับจ้างทั่วไป เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 เข้ามาทำให้มีครัวเรือนที่ป่วยและต้องปิดหมู่ในบางพื้นที่ทีมีการแพร่ระบาดอย่างมาก จำนวน 102 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 21.78 เมื่อป่วยแล้วทำให้ประชากรต้องกักตัว และไม่สามารถไปทำงาน บางรายต้องตกงาน ทำให้ขาดรายได้ และร้านค้ามีการกักตุนอาหาร ขึ้นราคาสินค้าทำให้ และไม่กล้าที่จะออกไปจากชุชนไปยังตลาดเพราะสถานการณ์โควิด-19 บ้านศาลาเชือกได้มีการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ที่รับได้ผลกระทบ จากการร่วมกลุ่มของกลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน ในปีที่ผ่านได้มีการส่งเสริมการออมเงินแต่ละเดือนในกลุ่มทำให้มีเงินเก็บและในปีนี้ได้มีการเอาเงินออมส่งเสริมอาชีพในการจัดทำหมอนและจำหน่าย กลุ่มเยาวชนมีการจัดทำเสื้อจำหน่ายทำให้มีรายได้และได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านศาลาเชือกให้มีการออมเงินเพื่อใช้ในการพัฒนาอาชีโดยลดภาระการกู้ยืมจากแหล่งที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19 2.เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19

1.เชิงปริมาณ -จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการมี ความรู้เพิ่มขึ้น - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วม (DMHTT1 )
2.เชิงคุณภาพ-ผู้เข้าร่วมโครงการมีการจัดทำบัญชี ครัวเรือน รายรับและรายจ่ายของตนเอง ได้ - มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทาง การเงินของตนเองได้

2 1.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ ด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการ ระบาด โควิด 19 2.เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและ รายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบ จากการระบาด โควิด 19

1.เชิงปริมาณ -จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการมี อาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในช่วงการ ระบาดโควิด 19 - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการมี รายได้เพิ่มขึ้นจากการออม - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการ อยู่อย่างพอเพียง หนี้สินลดลงหรือไม่มี หนี้สิน 2.เชิงคุณภาพ คนที่ตกงานหรือถูกเลิกจ้างสามารถอยู่ได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในช่วงของการ ระบาดโควิด 19

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 10 -
ชุมชน 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและสสส.(17 ก.ย. 2565-18 ก.ย. 2565) 10,000.00                        
2 จัดประชุมแกนนำ / คณะทำงาน (3 ครั้ง)(21 ก.ย. 2565-21 ก.ย. 2565) 3,550.00                        
3 ประชุมเชิงปฎิบัติการและฝึกอบรม(20 ธ.ค. 2565-25 ก.ย. 2566) 66,450.00                        
รวม 80,000.00
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและสสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 66 10,000.00 6 10,000.00
17 - 18 ก.ย. 65 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. 2 3,320.00 3,320.00
28 ต.ค. 65 ค่าป้ายไวนิลโครงการ 40 1,000.00 1,000.00
19 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินกับสสส.หรือหน่วยจัดการระดับจังหวัด 10 1,330.00 1,330.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลียนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 10 3,400.00 3,400.00
20 ก.พ. 66 ถอนเงินเปิดบัญชี 2 0.00 500.00
15 - 16 ก.ค. 66 เวที่แลกเปลียนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 950.00 450.00
2 จัดประชุมแกนนำ / คณะทำงาน (3 ครั้ง) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 3,550.00 3 3,550.00
5 ต.ค. 65 จัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 10 1,100.00 1,100.00
15 พ.ค. 66 จัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 10 1,300.00 1,300.00
25 ส.ค. 66 จัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 10 1,150.00 1,150.00
3 ประชุมเชิงปฎิบัติการและฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 350 66,450.00 9 66,450.00
9 พ.ย. 65 ค่าจัดทำสมุดบันทึกครัวเรือน(รายรับ-รายจ่าย) 40 1,200.00 1,200.00
10 พ.ย. 65 การเก็บข้อมูล - เก็บข้อมูลโครงการของกลุ่มแม่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับโครงการมากน้อยเพียงใด 30 450.00 450.00
10 ธ.ค. 65 จัดประชุมผู้เข้าร่วมโครงการ -เพื่อสร้างความเข้าใจของโครงการ 40 5,495.00 5,495.00
15 ธ.ค. 65 การจัดอบรมคืนข้อมูลสะท้อนปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย 40 9,629.00 9,629.00
17 ธ.ค. 65 ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบน้ำจิ้ม 40 7,985.00 7,985.00
28 ธ.ค. 65 จัดอบรมการส่งเสริมอาชีพตามความถนัดของกลุ่มเป้าหมาย(น้ำจิ้ม) 40 20,691.00 20,691.00
20 มี.ค. 66 จัดอบรมช่องทางการตลาด 40 9,000.00 9,000.00
20 ก.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องของสุภาพ การออม การเงิน และอาชีพ 40 7,600.00 7,600.00
10 ส.ค. 66 ประชุมคืนข้อมูลการดำเนินงานร่วมการภาคีในพื้นที่และสรุปกิจกรรมตลอดมา 40 4,400.00 4,400.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครัวเรือน 30 ครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพในการหารายได้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  2. ครัวเรือน 30 ครัวเรือนสามารถพึงพาตนเองและมีความสามารถที่จะออมเงินจากที่เหลือในการจ่ายใช้ในครอบครัว เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินได้

แนวทางการนำผลที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์หรือขยายผล 1.ขยายผลอย่างต่อเนื่องให้กับครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้ทั่วถึงในชุนชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2565 20:26 น.