directions_run

ส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายผักปลอดภัย ตำบลลำใหม่ ปีที่ 3

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายผักปลอดภัย ตำบลลำใหม่ ปีที่ 3
ภายใต้โครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาวะ “กินปลอดโรค อยู่ปลอดภัย” จังหวัดยะลา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 670012311
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 มกราคม 2568
งบประมาณ 64,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสวนนูริสฟาร์มลำใหม่
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิสมาแอล ลาเต๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0800370794
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ ismal2516@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมาน หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดภาคใต้
ละติจูด-ลองจิจูด 6.565789,101.184248place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 30 พ.ค. 2567 25,600.00
2 1 มิ.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 32,000.00
3 30 ก.ย. 2567 31 ม.ค. 2568 6,400.00
รวมงบประมาณ 64,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. หลักการเหตุผล / ความสำคัญของปัญหา/ การวิเคราะห์สถานการณ์ (โปรดระบุ1.1 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ สาเหตุของปัญหา โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ ควรใช้ทุนเดิม จุดแข็งที่มี มาช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการอย่างไ

การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ผักปลอดภัย จังหวัดยะลา ปี 2567 มีเป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัด คือ ลดการนำเข้าผักจากนอกพื้นที่จังหวัดยะลา มีโมเดลผักปลอดภัย 2 โมเดล คือ โมเดลวิสาหกิจชุมชน มีกลุ่มเป้าและโครงสร้างกลุ่มที่จะดำเนินการชัดเจน และโมเดลกลุ่มเกษตรกร สมาชิกกลุ่มมีการรวมกลุ่มเกษตรกรปลูกผัก ดำเนินแบบกลุ่มแต่โครงสร้าง บทบาทหน้าที่คณะกรรมการยังไม่ชัดเจน พื้นที่ร่วมดำเนินโครงการจำนวน 21 ตำบล 21 ชุมชน ปัจจุบัน เรื่องของปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเป็นได้จากสถิติจำนวนของผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมากจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีสารปลอมปนสารเคมี หรือผักที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักจะมีการใช้สารกำจัดสัตรูพืชและยังตกค้างในผลผลิต ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืน คือ การส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภค การปลูกผักรับประทานเอง และส่งต่อจำหน่ายให้กับชุมชนในพื้นที่ และขยายพื้นทีเครือข่ายเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับของผู้บริโภค สำหรับประชาชนกึ่งเมืองที่บางครัวเรือนบริโภคผักที่ขายตามท้องตลาด ในการที่จะเริ่มต้นเป็นผู้ปลูกผักด้วยตนเอง
ชุมชนบ้านลูกา มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น........428....คน จำนวน.....108....... ครัวเรือน นับถือ ศาสนาอิสลาม 100% อาชีพ เกษตรกร ทำนา ทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ พฤติกรรมการบริโภคของชุมชนบ้านลูกา ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาดมาบริโภคไม่ได้มีการปลูกผัก ทั้งที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอยผักจากตลาด ซึ่งในชุมชนมีร้านชุมชนขายของทุกวัน จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ไม่ต้องให้การดูแล บำรุงรักษา ชุมชนมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภค ประมาณ 60,000 บาท/เดือน โดยเฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 400 บาท/เดือน ชุมชนมีการปลูกผักอยู่บ้าง โดยประมาณ 30 คน ปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพบ้าง เพราะสะดวก หาซื้อง่าย และง่ายต่อการดูแล ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ชุมชนเสียค่าใช่จ่ายในการซื้อปุ๋ยเพื่อใช้ในการเกษตร ในแต่ละปี เป็นเงินประมาณ 70,000 บาท ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีสารเคมีสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน และทำให้ดินเสื่อม ด้านสุขภาพ ประชาชนที่ปลูกผักโดยใช้สารเคมี หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษโดยตรง ทำให้สารพิษตกค้างสะสม ภายในร่างกาย ประชาชนที่บริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ร่างกายจะสะสมสารพิษ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น มะเร็ง สาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากการอะไร โปรดอธิบายพร้อมทั้งระบุรายละเอียด จากพฤติกรรมการปลูกผักของชุมชน พบว่าชุมชนไม่เห็นความสำคัญของการปลูกผักกินเอง เพราะในการซื้อผัก แต่ละครั้ง เป็นจำนวนเงิน 20-30 บาท ขาดความรู้ เทคนิคในการปลูกผัก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจาก การใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่เห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการ เพาะปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ขาดหน่วยงานที่มาส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก/บริโภคผักปลอดสารพิษในหมูบ้าน ไม่มี กฎกติกา/ระเบียบของชุมชนในการบริโภคผักปลอดสารพิษ จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการในเรื่องการปลูกผักที่ไม่ใช้สารเคมี ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภค โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้ 1. มีสมาชิกที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน ......50........คน (ต่อไปนี้จะเรียกว่า สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย) 2. ก่อนเริ่มโครงการ มีสมาชิกกลุ่มเป้าหมายที่สามารถปลูกผัก ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในได้ 5 ชนิด ขึ้นไป จำนวน.10.....คน
3. ก่อนเริ่มโครงการสมาชิก กลุ่มเป้าหมายมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภคเฉลี่ยสัปดาห์ละ..130..บาท/คน 4. ปัจจุบันชุมชน มีกติกาข้อตกลงเกี่ยวกับการปลูก และบริโภคผักปลอดภัย
ปีแรกทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยจากสสส.ทำให้สมาชิกได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการทีกำหนดไว้ให้สมาชิกครัวเรือนทีเข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมปลูกผักและบริโภคตามทีกำหนด ปีทีผ่านมาเป็นปีที 2 ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยจากสสส.ทำให้สมาชิกได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการทีกำหนดไว้และผักได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ได้เป็นแปลงต้นแบบให้กับกลุ่มปลูกผักปลอดภัยในจังหวัดยะลา ได้มีกิจกรรมเปิดร้านจำหน่ายผักให้กับชุมชนในพื้นที่และต่างจังหวัด และปีนี้สมาชิกมีความต้องการเพิ่มศักยภาพและกำลังการผลิตให้มากขึ้นเพื่อออกจำหน่ายให้กับชุมชน สร้างรายได้ให้เกิดความยั่งยืน และขยายศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้การปลูกผักปลอดภัย แต่ทางกลุ่มยังขาดงบประมาณในการขยายกิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น. ชุมชน ฯ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายผักปลอดภัย ตำบลลำใหม่ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มมากขึ้นเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย

50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ปลูกผักปลอดภัยในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ 1 คณะกรรมการเข้มแข็ง

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 1.1 ทบทวนบทบาทหน้าที่ โครงสร้าง กติกากลุ่ม วางแผนปฏิบัติการกิจกรรมโครงการ แนวทางการเก็บข้อมูลพื้นฐาน การบันทึกข้อมูล (ตาราง Excel)

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 1.2 คณะกรรมการมีการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน การบันทึกข้อมูลพื้นฐาน (ตาราง Excel)
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 1.3 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE) กับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 1.4 กิจกรรมอบรมเรื่องการเป็นวิทยากร


ผลลัพธ์ที่ 2 มีกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 2.1 กลุ่มเกษตรกรได้รับความรู้เรื่องการจัดการดินปลูกผักปลอดภัย การวิเคราะห์ดิน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำน้ำหมักชีวภาพ

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 2.2 เวที “kick off” ปลูกผัก


ผลลัพธ์ที่ 3 ผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 3.1 มีการวางแผนรับรองผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP วิธีเก็บเกี่ยวผลผลิตและการรักษายืดอายุผัก

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 3.2 มีการพัฒนา ครู ก เป็นผู้ตรวจแปลง
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 3.3 เวทีการลงตรวจแปลงผักปลอดภัยเพื่อออกใบรับรองผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 3.4 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE) กับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 2

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยที่เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ 4 มีวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยที่เข้มแข็ง

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 4.1อบรมการจัดการสู่การเรียนรู้

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 4.2 ให้ความรู้คณะกรรมการ สมาชิกเรื่องการวางแผนธุรกิจและการตลาด

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 4.3 เวทีติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่เลี้ยง (ARE ครั้งที่ 3 )

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 4.4 เวทีสรุปปิดโครงการคืนข้อมูลให้ชุมชน มอบใบรับรองผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP แก่สมาชิกโครงการที่ผ่านการรับรอง

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ชุมชนตำบลลำใหม่ 10 -
ชุมชนบ้านลูกา 40 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68
1 การดำเนินงานร่วมกับสสส.และโหนดจังหวัด(3 มิ.ย. 2567-31 มี.ค. 2568) 10,000.00                        
2 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ(3 มิ.ย. 2567-3 มิ.ย. 2567) 14,800.00                        
3 การรับรองผัก ปลอดภัย มาตรฐาน GAP(3 มิ.ย. 2567-3 มิ.ย. 2567) 12,350.00                        
4 พัฒนาศูนย์ การเรียนรู้สู่ความเข็มแข็ง(3 มิ.ย. 2567-3 มิ.ย. 2567) 7,000.00                        
5 การบริหาร จัดการวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง(3 มิ.ย. 2567-3 มิ.ย. 2567) 15,950.00                        
6 การพัฒนา คุณภาพดิน(3 ก.ค. 2567-7 ส.ค. 2567) 3,900.00                        
รวม 64,000.00
1 การดำเนินงานร่วมกับสสส.และโหนดจังหวัด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 10,000.00 5 3,000.00
1 เม.ย. 67 - 31 มี.ค. 68 . 0 10,000.00 -
3 เม.ย. 67 จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครการ 0 0.00 1,000.00
21 เม.ย. 67 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 0.00 600.00
24 เม.ย. 67 เปิดบัญชีโครงการย่อย 0 0.00 600.00
4 พ.ค. 67 ร่วมเวทีปิดGAP โครงการย่อย 0 0.00 400.00
3 มิ.ย. 67 ร่วมเวทีจัดการข้อมูลโครงการย่อย 0 0.00 400.00
2 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 85 14,800.00 2 7,150.00
25 พ.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการ สมาชิก ชี้แจงโครงการ ทบทวนหน้าที่โครงการ 40 5,200.00 5,200.00
5 มิ.ย. 67 ประชุมคณะกรรมการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน และการ บันทึกข้อมูลพื้นฐาน (ตาราง Excel) ทุก 3 เดือน ๆ ละ 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง/ปี 15 3,900.00 1,950.00
20 ก.ค. 67 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( ARE) กับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1 15 1,950.00 -
4 ส.ค. 67 กิจกรรม อบรม เรื่อง การเป็นวิทยากร 15 3,750.00 -
3 การรับรองผัก ปลอดภัย มาตรฐาน GAP กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 85 12,350.00 0 0.00
8 ก.ย. 67 เวทีการตรวจแปลงผักปลอดภัยของสมาชิกกลุ่มเพื่อออกใบรับรอง มาตรฐานผักปลอดภัย GAP 3 เดือน/ครั้ง รวม 2 ครั้ง/ปี ครั้งที่ 1 ครู ก ลงตรวจแปลง และสรุปผล 10 2,600.00 -
22 ก.ย. 67 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( ARE) กับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 2 15 1,950.00 -
20 ต.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการ สมาชิก เรื่องแนวทางการรับรองผักปลอดภัย มาตรฐาน GAP วางแผนการตรวจแปลง วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตและ การรักษายืดอายุผัก 40 5,200.00 -
3 พ.ย. 67 ประชุมคณะกรรมการ สมาชิก เรื่องแนวทางพัฒนาครู ก ตรวจแปลง 20 2,600.00 -
4 พัฒนาศูนย์ การเรียนรู้สู่ความเข็มแข็ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 7,000.00 0 0.00
10 พ.ย. 67 กิจกรรมอบรมการจัดการสู่การเรียนรู้ 40 7,000.00 -
5 การบริหาร จัดการวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 95 15,950.00 0 0.00
22 ธ.ค. 67 อบรมให้ความรู้คณะกรรมการ สมาชิกเรื่องการวางแผนธุรกิจและ การตลาด 40 8,800.00 -
8 มี.ค. 68 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( ARE) กับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 3 15 1,950.00 -
15 มี.ค. 68 เวทีสรุปปิดโครงการคืนข้อมูลให้ชุมชน มอบใบรับรองผักปลอดภัย มาตรฐาน GAP แก่สมาชิกโครงการที่ผ่านการรับรอง 40 5,200.00 -
6 การพัฒนา คุณภาพดิน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 3,900.00 0 0.00
18 ส.ค. 67 อบรมปฏิบัติการให้ความรู้คณะกรรมการ สมาชิกเรื่องการจัดการดินปลูก ผักปลอดภัย การวิเคราะห์ดิน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำน้ำหมักชีวภาพ 20 2,600.00 -
15 ก.ย. 67 เวที “kick off” ผักปลอดภัย 10 1,300.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ

2.เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. หมดลง จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร

3.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร
1.เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุน สสส. หมดลงจะดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
  1.วางแผนการปลูกผักปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
  2.ขยายพื้นที่ปลูกโดยการรับสมัครเกษตรกรที่ปลูกผักอยู่แล้วเข้าร่วมเป็นสมาชิก

  3.ผลักดันการปลูกผักปลอดภัยเข้าแผนชุมชนเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก อบต.

  4.สร้างเครือข่ายการตลาดผักปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกชุมชน
  5.ดำเนินงานในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยอย่างต่อเนื่องจริงจัง เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองอย่างเป็นระบบ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2567 09:26 น.