คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดระนองประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการฯ

  • photo  , 492x392 pixel , 172,752 bytes.
  • photo  , 476x376 pixel , 171,622 bytes.
  • photo  , 477x386 pixel , 186,395 bytes.
  • photo  , 476x376 pixel , 173,064 bytes.

วันที่ 11 ตุลาคม 2552 คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ จังหวัดระนอง จัดรายการวิทยุประชาสัมพันธ์โครงการการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม จังหวัดระนองทางสถานีวิทยุ สวท.107.25 ระนอง เนื้อหาที่จัดรายการอาทิตย์ที่ 11 ต.ต. วันนี้ เรื่องพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ในมาตรา 25 (5) ว่าด้วยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ "HIA" Health Impacyt Assessment

ทำไม...ถึงต้องมีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ...?

คนเราเจ็บป่วยได้จากหลายสาเหตุ บางสาเหตุป้องกันไม่ได้ แต่บางสาเหตุก็ป้องกันได้ เพราะเกิดจากมลพิษ และการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายและโครงการพัฒนาประเทศรวมถึงก่อสร้างอุตสาหกรรมหลายอย่างทำให้ประชาชนเจ็บป่วย..

ทุกปีประเทศต้องสูญเสียเงินมหาศาลในการรักษาประชาชนที่เจ็บป่วย อันเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเเละโครงการพัฒนาของรัฐเอง แต่ถ้าเราคำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพและหาวิธีป้องกันแต่แรก เราก็จะสามารถประหยัดเงินค่ารักษาพยาบาล และการพัฒนาประเทศก็จะเกิดขึ้นได้โดยไม่ทำร้ายสุขภาพของประชาชน

หลายโครงการเป็นการพัฒนาที่เป็นธรรม เพราะเราทำให้คนกลุ่มหนึ่งร่ำรวยขึ้นแต่คนอีกกลุ่มหนึ่งต้องรับภาระด้วยการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ

หลายคนมีความสงสัยว่า..โครงการพัฒนาหรืออุตสาหกรมใหม่ๆที่กำลังจะเกิดขึ้นใกล้บ้านของตนเองจะสร้างปัญหาสุขภาพและการทำมาหากินอย่างไรแต่ก็ไม่รู้ว่าจะถามหาความชัดเจนและปรึกษาใคร

ขณะเดียวกันรัฐบาลและเจ้าของโครงการพัฒนาต่างๆก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้หลายกรณีจึงนำไปสู่การคัดค้านและต่อต้านอย่างรุนแรง เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง หมู่บ้านแตกแยกกลายเป็นปัญหาที่ดูเหมือนไม่มีทางออก

ทุกคนมีสิทธิ มีทางออก...

รัฐธรรมณุญของประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๐ กำหนดไว้ว่า...

"การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมก่อสร้างที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ.. ..ต้องศึกษาและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หาวิธีป้องกันสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนและจัดให้มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน รวมทั้งต้องได้รับความเห็นประกอบการตัดสินจากองค์การอิสระ ที่รัฐต้องจัดให้มีขึ้นด้วย.."

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ กำหนดว่า..

"เมื่อมีนโยบายหรือโครงการใดๆ ที่เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทุกคนมีสิทธิขอให้มีการศึกษาผลได้ผลผลเสียและมีสิทธิร่วมคิดวิธีการศึกษา เพื่อประเมินผลกระทบสุขภาพจากนโยบายหรือโครงการนั้นได้

..และประชาชนมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงเหตุผลจากเจ้าของโครงการและหน่วยงานของรัฐ ก่อนที่จะอนุญาตหรือดำเนินโครงการใด ๆ ที่อาจสร้างปัญหาต่อสุขภาพของตนและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว.."

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ คืออะไร ?

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment) หรือเรียกย่อๆว่า HIA (เอช ไอ เอ)

เอช ไอ เอ เป็นเครื่องมือใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนทั้งชาวบ้านที่มีส่วนได้ส่วนเสีย นักวิชาการ เจ้าของโครงการพัฒนาและประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาช่วยกันระดมความคิด ศึกษาแนวโน้มและโอกาสที่โครงการพัฒนาเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความเจ็บป่วย ร่วมกันหาวิธีป้องกันปัญหาที่เกิด และหาทางออกเพื่อให้ประเทศสามารถพัฒนาไปได้โดยไม่เกิดผลเสียหายกับสุขภาพของประชาชน..

แนวคิดของ HIA ยังสามารถนำมาปรับใช้กับนโยบายและโครงสร้างที่ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต เพื่อให้นโยบายหรือโครงการนั้นๆดำเนินไปอย่างมีประโยชน์สูงสุด เช่น การสร้างสวนสาธารณะ ต้องออกแบบอย่างคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จริง ไม่สร้างเนินสูงเกินไปหรือไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้มาวิ่งออกกำลังหรือทางจักรยาน ที่ควรต้องมีมาตรการเพื่อลดมลพิษทางอากาศควบคู่ไปด้วย..

จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไร ?

การเริ่มต้นต้องมาจาก..

การตื่นตัวของประชาชน ที่ต้องตระหนักกับปัญหาสุขภาพที่อาจก่อให้เกิดขึ้นได้จากทุกนโยบายและโครงการพัฒนา รู้จักตั้งคำถามและใช้มิทธิที่มีตามกฎหมายในการขอเสนอและเข้าร่วมการทำรายงานผลกระทบสุขภาพ ควบคู่ไปกับการแสวงหาความรู้เพื่อให้การใช้สิทธิเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ..

เจ้าของโครงการต้องตระหนักว่า..

โครงการพัฒนาของตนเอง อาจเป็นตัวการทำลายสุขภาพของประชาชนได้โดยที่ตนเองคาดไม่ถึง เพราะอาจไม่เข้าใจวิธีชีวิตของชาวบ้านและไม่รู้จักสภาพแวดล้อมของพื้นที่ตั้งโครงการดีเท่าที่ชาวบ้านซึ่งใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น จึงต้องพร้อมที่จะเรียนรู้และรับฟังข้อห่วงใยจากเจ้าของพื้นที่และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและรูปแบบโครงการเพื่อลดและป้องกันความเสียหายด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น..

หน่วยงานรัฐต้องสนับสนุนการใช้สิทธิของประชาชนและพร้อมเป็นคนกลางที่จะทำให้ทุกขั้นตอนของการจัดทำ HIA ดำเนินไปอย่างราบรื่นให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อนนำสู่การตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด..

เมื่อการศึกษาเสร็จ..

ประชาชนต้องมีส่วนร่ววมแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ร่างรายงานการประเมินผลกระทบเพื่อให้การตัดสินในทางเลือกที่จะเกิดขึ้นในขั้นถัดไปเป็นไปอย่างสมบูรณ์รอบด้าน และเป็นธรรมมากที่สุด..

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพใช้ทำอะไรได้บ้าง ?

ใช้ประเมินผลกระทบโครงการหรือกิจกรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อประชาชนโดยประเมินผลกระทบด้านสุขภาพร่วมกับด้านสิ่งแวดล้อม ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ..

ใช้ประเมินผลกระทบโครงการหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นไปแล้วและส่งปัญหาต่อประชาชน ซึ่งทุกคนมีสิทธิร้องขอให้ประเมินได้ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่ชาติ เพื่อให้โครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นและมีการปรับการผลิตเพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพ เพื่อให้การพัฒนาสามารถดำรอยู่ในชุมชนได้โดยไม่เป็นพิษภัยกับสุขภาพของคน ดัง

ที่ชาวบ้านมาบตาพุด จังหวัดระยองกำลังทำอยู่โดยความร่วมมือบองสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.. ไม่ใช่แต่เฉพาะโครงการที่มีการก่อสร้างต่างๆเท่านั้น นโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนสงสัยว่าอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น การเร่งปลูกข้าวหรือผักผลไม้ๆเพื่อส่งออก ทำให้ต้องใช้สารเคมีในไร่นามากมาย ประชาชนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคที่กัลวนกับอันตรายของสารเคมี ก็มีสิทธิร้องขอให้ศึกษาปัญหาสุขภาพจากนโยบายดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ..ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งเทศบาล อบต. และ อบจ.

สามมารถนำรศึกษามาประเมินผลกระทบด้านสุขภาพมาใช้ในการสร้างนโยบายหรือการพิจารณาโครงการพัฒนาในระดับท้องถิ่นของตัวเองได้ รวมไปถึงการจัดให้มีการทำการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพตามที่ประชาชนมนท้องถิ่นต้องการ..

เพื่อทางเลือกที่ดีที่สุดต่อสุขภาพ..

สุขภาพที่ดีคือ.. การที่คนเราดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขทั้งทางร่างการและจิตใจ มีปัญญา รู้ เข้าใจ ในเหตุและผล รู้คุณและโทษในสิ่งต่างๆ ที่สำคัญการมีสุขภาพที่ดีจะต้องอยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลอดภัย และเป็นสุขด้วย..

การประเมินผละกระทบด้านสุขภาพ หรือ เอช ไอ เอ (HIA) จะเป็นทางออกสำหรับชุมชนที่กำลังเผชิญกับนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเป็นเครื่องมือที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตน