directions_run

โครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้กลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลอง ต.โคกโพธิ์

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้กลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลอง ต.โคกโพธิ์
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-20
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านท่าคลอง ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีก๊ะ หวังจิ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0819907352
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ mareekah2521@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ บ้านท่าคลอง อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
2 1 มี.ค. 2566 31 ก.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ส.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่บ้านท่าคลอง มาจากชื่อคลองที่กั้นระหว่างหมู่บ้านทุ่งยาว หมู่ที่6 คลองที่กั้นเป็นพื้นที่ใช้สอยระหว่างทั้งสองหมู่บ้าน บ้านท่าคลอง ในอดีตบ้านท่าคลองเป็นส่วนหนึ่งของบ้านทุ่งยาว เริ่มมีประชากรขยายมากขึ้น ผู้นำ(อดึตอิหม่าม) จึงทำเรื่องขอขยายหมู่บ้านเพิ่มเป็นบ้านท่าคลอง มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 170 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 951 คน เป็นชาย 474 คนหญิง 477 คน
จากการลงสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจคนในชุมชนมีอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น รับจ้างกรีดยาง รับจ้างขายของในตลาดนัด รับจ้างก่อสร้าง ในพื้นที่ และต่างจังหวัด รองลงมามีอาชีพทำเกษตร และลูกจ้างในตลาดนัดทั้งในชุมชนและต่างชุมชน จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ที่ผ่านมา ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในหมู่บ้าน ทำให้ประชาชนที่มีอาชีพรับจ้างและค้าขายในต่างจังหวัด ต้องกลับมาอยู่บ้าน จึงเกิดปัญหาเรื่องการหางานทำ ทำให้ครอบครัวมีค่าใช้จ่ายทุกอย่างเพิ่มขึ้น แต่รายรับลดลง ต้องอาศัยการกู้เงินจากเพื่อนบ้าน และกู้นอกระบบ ทำให้เกิดหนี้สิน ก่อให้เกิดความเครียดสะสม เนื่องจากโรคระบาดโควิด 19 ยังย้อนกลับมาอีก ระลอก 2 ซึ่งหมู่บ้านท่าคลอง เป็นหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ บ้านท่าคลองประชากรส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพรับจ้างนอกพื้นที่ เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 ทำให้ขาดรายได้ จากการที่เคยได้รับ 200-600 บาท ต่อวัน เกิดอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองและกลุ่มฯ โดยการนำผักที่ปลูกนำไปจำหน่ายให้กับแม่ค้าในตลาด(พ่อค้าคนกลาง) ซึ่งเป็นคนในชุมชน 3 คน และที่เป็นสมาชิกกลุ่มที่ไปรับจ้างขายของอยู่ในตลาด จำนวน 5 คน สามารถนำผักไปขายในตลาดเองได้ และขายในชุมชนเอง โดยขายหน้าบ้านของตัวเอง ผักที่ปลูก ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ ข้าวโพด ตะไคร้ ผักบุ้ง ผักชี และผักอื่นๆ จุดแข็ง ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำเกษตรกรรม ,มีแหล่งน้ำธรรมชาติใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสมบูรณ์ ,สมาชิกมีความสามัคคีและอดทน จุดอ่อน การรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งทำให้ขาดความรู้ในการทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพและมาตรฐาน,ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สินนอกระบบ,ส่วนใหญ่มีรายได้จากการเกษตรแต่ขาดความรู้ในเรื่องการดูแล,ปัญหายาเสพติด โอกาส สามารถขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.,พัฒนาชุมชน ,เกษตรอำเภอ,กศน.,รพ.สต.สนับสนุนด้านการให้ความรู้
อุปสรรค ไม่มีการวางแผนงานที่ดี ,กลุ่มอาชีพยังไม่สามารถรวมตัวให้เข้มแข็งได้,ไม่มีความรู้ด้านการตลาด,การบริหารจัดการกลุ่ม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์,ครอบครัวไม่เข้มแข็ง,สื่อต่างๆเช่นอินเตอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชน,ไม่มีงบประมาณ,การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ รวมถึงการที่ไม่ออกกำลังกาย จึงเกิดความเครียด จากการวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหา ปัญหารายได้ลด รายจ่ายเพิ่ม มีหนี้สิน คนในชุมชนมีอาชีพรับจ้างกรีดยาง 10 คน รับจ้างขายของในตลาดนัด 5 คน รับจ้างก่อสร้าง 2 คน ไม่มีรายได้ 5 คน ส่งขนมขาย 2 คน มีรายได้วันละ 100-200บาทต่อวัน จำนวน 10 คน มีรายได้ 201-300บาท จำนวน 5 คน ไม่มีงานทำ 5 คน มีค่าใช้จ่าย ให้ลูกไปโรงเรียนวันละ20-30 บาทต่อวันต่อคน จำนวน 30 คน ซื้อปลาและผัก เพื่อทำกับข้าวต่อวัน 150 บาทต่อครอบครัว มีหนี้สินที่มาจากเพื่อนบ้านและญาติพี่น้อง จำนวน 20 คน มีหนี้สินจากหมวกกันน๊อก จำนวน 5 คน ต้องจ่ายวันละ500บาทต่อวัน (เฉพาะดอกเบี้ย) จากการเอาเงิน 10,000 บาท สมาชิกจำนวน 2ครอบครัว ที่มีลูก 5 คน และ 1 ครอบครัวที่มีลูก 6 คน มีร้านค้าในชุมชนจำนวน 10 ร้าน ที่สามารถนำผักไปวางขายได้ 1.ปัญหาทางเศรษฐกิจ(รายได้ลด รายจ่ายเพิ่ม) จากเหตุการณ์สถานการณ์โควิด ทำให้คนในชุมชนรายได้ลดลง และสินค้าทุกอย่างราคาแพงขึ้นทำให้เกิดรายจ่ายเพิ่ม เกิดมีหนี้สิน ทั้งในระบบ และนอกระบบ บางคนไม่สามารถอาศัยอยู่ในหมู่บ้านได้ ต้องหนีไปอยู่ที่อื่น เพราะเกรงกลัวต่อเจ้าหนี้ที่มาตามเก็บดอกเบี้ย
2.ปัญหาด้านสุขภาพ(เครียด,ซึมเศร้า) จากปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้คนในชุมชนเกิดภาวะเครียด ซึมเศร้า เกิดอาการป่วย ไม่สบาย เพราะรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ นิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารถุงเพราะความสบายตัว นิยมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์บ่อย ไม่มีการทำบัญชีครัวเรือน ไม่มีการเก็บออม ในหมู่บ้านมีพื้นที่บริเวณบ้าน แต่ไม่มีความรู้ด้านการปลูกผัก ไม่รู้ถึงประโยชน์ของผักที่ปลูกเองนิยมซื้อสินค้าเงินผ่อน พอไม่สบายขึ้นมา ไม่ยอมไปหาหมอรักษา เพราะไม่มีเงินรักษา แต่ใช้วิธีการหายาสมุนไพรปรุงกินเอง และปล่อยให้หายเอง 3.ปัญหาทางสังคม(ยาเสพติด) จากปัญหาทางด้านสังคม ทำให้เยาวชนหันไปพึ่งพายาเสพติดมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือน้ำกระท่อม ยาบ้า พบว่าในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งเป็นทางผ่านระหว่างอำเภอเทพา จังหวัดสงขลากับอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ทำให้มีเยาวชนใช้เส้นทางในการพาเพื่อนๆมานั่งมั่วสุมกัน สภาผู้นำและกลุ่มสตรีร่วมกันจัดทำต้นไม้ปัญหาเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุแลผลกระทบของปัญหาในแต่ละประเด็น พร้อมได้ร่วมกันลงมติเลือกประเด็นปัญหาเพื่อจัดทำโครงการแก้ปัญหาของกลุ่มคนเปราะบางในหมู่บ้านท่าคลอง โดยเลือกประเด็นปัญหา รายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่ม หนี้สิน เป็นปัญหาใหญ่ของชุมชน โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลอง หมู่ที่ 10 ตำบลโคกโพธิ์ เพื่อให้เกิดงานในหมู่บ้าน เกิดการจัดการและบริหารงานกิจกรรมมาจากคนในหมู่บ้าน เพื่อคนในหมู่บ้านได้มีอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงชีพในครัวเรือน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่กลุ่มเปราะบาง

1 มีคณะทำงาน จำนวน10 คน มีความ เข้าใจในการดำเนินงานและแบ่งบทบาท หน้าที่ชัดเจน
2.คณะทำงานมีการวางแผนการ ปฏิบัติงานร่วมกัน และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.แผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน (ตาม ปฏิทินกิจกรรมในรอบ 1 ปี)
4. คณะทำงานสรุปผลการดำเนินงาน ประชุมและติดตามผลการทำงาน อย่างน้อย 3 ครั้ง 5.มีการอบรมทักษะการเงิน การจัดการหนี้ การทำบัญชีครัวเรือน30ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีรายรับ--รายจ่าย 6. มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินของตนเองได้

1.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับกลุ่มเปราะบาง
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน มีรายได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายลดลงยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชน 2.ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน มีการออมและช่องทางการตลาด
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเปราะบาง 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 งบสนับสนุนกิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.(17 ก.ย. 2565-17 มิ.ย. 2566) 10,804.00                        
2 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ(25 ก.ย. 2565-25 ม.ค. 2566) 3,000.00                        
3 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงานทุก 2 เดือนและการสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ(12 ต.ค. 2565-30 มิ.ย. 2566) 4,400.00                        
4 การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม(12 ต.ค. 2565-2 มิ.ย. 2566) 3,000.00                        
5 พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เป็นผู้ประกอบการและ การบริหารการเงิน -พัฒนาช่องทางการตลาด(19 ม.ค. 2566-19 ม.ค. 2566) 13,700.00                        
6 การติดตามการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน(14 เม.ย. 2566-9 มิ.ย. 2566) 2,900.00                        
รวม 37,804.00
1 งบสนับสนุนกิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 10,804.00 10 9,250.50
17 - 18 ก.ย. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ 2 10,000.00 2,040.00
23 ก.ย. 65 ถอนเงินธนาคารกรุงไทย สสส.สนับสนุน 1 0.00 280.00
27 ก.ย. 65 สสส.สนับสนุน 1 0.00 1,551.50
19 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 2 0.00 309.00
9 ม.ค. 66 พี่เลี้ยงคลี่แผน/ARE/ทำแบบประเมิน ครั้งที่2 11 0.00 0.00
16 ม.ค. 66 ถอนเงินธนาคารกรุงไทย สสส.สนับสนุน 1 0.00 270.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 0.00 2,080.00
15 ก.พ. 66 พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารการเงินและเข้าระบบ 2 804.00 -
13 มิ.ย. 66 พี่เลี้ยง ARE/ทำแบบประเมินครั้งที่3 11 0.00 0.00
3 ก.ค. 66 ค่าเดินทางไปถอนเงินธนาคาร สสส.สนับสนุน 0 0.00 560.00
15 - 16 ก.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 0.00 2,160.00
2 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 3,000.00 3 3,000.00
1 ก.ย. 65 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ ครั้งที่1. 30 3,000.00 1,000.00
5 ม.ค. 66 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ ครั้งที่ 2 30 0.00 1,000.00
1 เม.ย. 66 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ ครั้งที่ 3. 30 0.00 1,000.00
3 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงานทุก 2 เดือนและการสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 4,400.00 5 4,400.00
19 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 10 4,400.00 900.00
23 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่2 10 0.00 900.00
16 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่3 10 0.00 900.00
5 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่4 10 0.00 900.00
3 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่5 10 0.00 800.00
4 การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 3,000.00 3 3,000.00
7 เม.ย. 66 การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่1 30 3,000.00 1,000.00
5 พ.ค. 66 การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่2 30 0.00 1,000.00
2 มิ.ย. 66 การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่3 30 0.00 1,000.00
5 พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เป็นผู้ประกอบการและ การบริหารการเงิน -พัฒนาช่องทางการตลาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 62 13,700.00 2 13,700.00
19 ม.ค. 66 พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เป็นผู้ประกอบการและ การบริหารการเงิน -พัฒนาช่องทางการตลาด ครั้งที่1. 31 13,700.00 7,100.00
20 ม.ค. 66 พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เป็นผู้ประกอบการและ การบริหารการเงิน -พัฒนาช่องทางการตลาด ครั้งที่2. 31 0.00 6,600.00
6 การติดตามการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 2,900.00 3 2,900.00
8 เม.ย. 66 การติดตามการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่1. 30 2,900.00 1,000.00
14 พ.ค. 66 การติดตามการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่2. 30 0.00 1,000.00
9 มิ.ย. 66 การติดตามการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3. 30 0.00 900.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 277 43,000.00 10 44,304.00
23 ก.ย. 65 เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงาน 30 4,050.00 4,050.00
28 พ.ย. 65 การอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ การปลูกผัก การทำปุ๋ย การทำบัญชีต้นทุนอาชีพ 31 7,500.00 7,500.00
30 พ.ย. 65 30ครัวเรือนลงมือปฏิบัติการปลูกผัก 30 600.00 600.00
16 ม.ค. 66 ถอนเงินฝากเปิดบัญชี 0 0.00 500.00
17 ม.ค. 66 เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชน 31 6,600.00 6,600.00
18 ม.ค. 66 ปฏิบัติการจัดทำแผนลดรายจ่ายเพิ่มรายได้รายครัวเรือนและกลุ่ม -หลักการใช้จ่ายอย่างพอประมาณ -การจัดทำบัญชี ครัวเรือน อย่างง่าย - การออมเงิน 30 6,900.00 6,900.00
15 ก.พ. 66 พบพี่เลี้ยงตรวจเอกสารการเงิน 0 0.00 804.00
9 มี.ค. 66 จัดตั้งกลุ่มอาชีพ การออมและการลงหุ้น 30 5,700.00 5,700.00
11 มี.ค. 66 การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด 50 6,700.00 6,700.00
15 มิ.ย. 66 เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลองส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 45 4,950.00 4,950.00
29 ก.ย. 65 พี่เลี้ยงคลี่แผน/ทำแผนประเมิน 10 0.00 0.00
10 0.00 1 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชน 2.เกิดกลุ่มอาชีพการปลูกและจำหน่ายผักในชุมชนเพิ่มรายได้

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2565 07:02 น.