directions_run

โครงการส่งเสริมการบริโภคและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการบริโภคและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 6510156018
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 15 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 106,300.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจร้านคนจับปลาทะเลสาบจังหวัดพัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภาภรณ์ พรรณราย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0899767578
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ yainab2516@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว เบจวรรณ เพ็งหนู
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 53,150.00
2 16 มิ.ย. 2566 15 ก.ย. 2566 16 มิ.ย. 2566 19 ธ.ค. 2566 42,520.00
3 16 ก.ย. 2566 15 ต.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566 10,630.00
รวมงบประมาณ 106,300.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการดำรงชิวิต ดังนั้นความปลอดภัยในด้านอาหารนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มี  สำคัญส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญของอาหารซึ่งมีส่วนสำคัญส่งผลต่อการพัฒนานำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี การผลิตอาหารที่ปลอดภัยมีคุณภาพสอดคล้องกับฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่เป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหาร อีกทั้งยังนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจรายได้ของคนในชุมชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การบริหารจัดการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนที่ชุมชนเป็นเจ้าของทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง     จังหวัดพัทลุงมีเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ภายใต้ พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากร ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมดี (Phatthalung Green city) ซึ่งมีความสอดคล้องกับศักยภาพในการพัฒนาจังหวัด ที่เชื่อมโยงการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านอาหาร (Green food) เศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่ดี (Green environment) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญนำไปสู่การที่ให้คนพัทลุงมีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมที่จะก้าวไปสู่ “พัทลุง มหานครแห่งความสุข”ภายใต้ศักยภาพที่มีต้นทุนฐานทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์บนฐานระบบนิเวศ เขา นา เล     อย่างไรก็ตามในพื้นที่ชายฝั่งนิเวศทะเลสาบตอนกลาง 5 ชุมชน ประกอบด้วยในชุมชนบ้านช่องฟืน ตำบลเกาะหมาก ชุมชนบ้านบางมวง ชุมชนบ้านแหลมไก่ผู้ ชุมชนบ้านบางขวน ตำบลฝาละมี และชุมชนบ้านกลาง ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนที่อยู่ริมทะเลสาบสงขลาตอนกลาง มีประชากร750-800 ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนในชุมชนเหล่านี้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเลสาบมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์มีให้จับตลอดปี สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่จะนำไปขายตลาดนอกชุมชนและมีราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นสัตว์น้ำที่มีรสชาดดี เป็นปลาสามน้ำเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค คนในครอบครัวหรือในชุมชนมีโอกาสจะซื้อกินน้อย เฉลี่ยคนในชุมชนได้บริโภคครัวเรือนละ 3 -4 มื้อ/สัปดาห์ (เฉลี่ยมื้อละ 1- 2 กิโลกรัม) จากข้อมูลการพุดคุยในชุมชน พบว่า แต่ละชุมชนมีครัวเรือนที่ซื้อปลาหรือสัตว์น้ำทั้งสดและแปรรูปมาบริโภคในครัวเรือน ชุมชนละ ไม่เกินร้อยละ50 (ชุมชนละไม่เกิน 40- 50 ครัวเรือน) ยกเว้นในบางช่วงสัตว์น้ำจับได้มากทำให้ราคาตกต่ำคนในชุมชนมีโอกาสได้ซื้อมาบริโภคและบางส่วนนำมาแปรรูปเพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้เพิ่ม ด้วยการพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมให้มีหลากหลายผลิตภัณฑ์เน้นปลอดสารเคมีปลอดภัยต่อผู้บริโภคและดูแลสิ่งแวดล้อม เช่นกุ้งแห้ง กุ้งแก้ว3รส ปลาบุตรีแล่เนื้อ กุ้งหวาน ผงโรยข้าวกุ้งหัวมัน น้ำพริกกุ้งแห้ง ปลานิลเส้น ปลาส้ม กุ้งส้ม ปลาแห้ง ฯลฯ ซึ่งพบว่า กลุ่มสมาชิกที่ทำการแปรรูปส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานของอาหารปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (กระบวนการผลิตและแปรรูป และบรรจุภัณฑ์) ด้วยการติดกรอบคิดกับพฤติกรรมความเคยชินกับการแปรรูปแบบเดิมๆที่ใส่ดินประสิวให้เนื้อปลามีสีสด ใส่สารกันบูดป้องกันแมลงวัน ป้องกันเชื้อรา รวมถึงการเข้าถึงแหล่งอาหารทั้งสดและแปรรูปของสมาชิกในชุมชนประมงและชุมชนใกล้เคียงได้มีอาหารทะเลเพียงพอในการบริโภคในครัวเรือน     ดังนนั้น การขับเคลื่อนภายใต้โครงการ ส่งเสริมการบริโภคและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักใส่ใจของผู้ผลิตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลผลิตมาจากการจับสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมงอย่างรับผิดชอบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคอย่างปลอดภัยทุกขั้นตอน และคนในชุมชนได้บริโภคอาหารทะเลมีทีปริมาณอย่างเพียงพอและเข้าถึงแหล่งอาหารทะเลได้อย่างทั่วถึงทั้งสดและแปรรูป อีกทั้งเป็นการสร้างตลาดทางเลือก เศษฐกิจรายได้ที่เกื้อกูลให้กับสมาชิกในชุมชนประมงทะเลสาบ พัฒนาให้เกิดเงินทุนหมุนวียนและส่งผลต่อการเกิดความมั่นคงด้านอาชีพ มีอาหารทะเลที่ปลอดภัยสอดคล้องกับยุทธศาตร์ BCG Model ที่มุ่งเน้นการสร้างเศษฐกิจที่ใช้ต้นทุนฐานทรัพยากรในชุมชนให้เกิดมูลค่า อีกทั้งส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย จะเป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้ชาวประมงผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยที่มีความเชื่อมโยงทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคที่เป็นคนในชุมชนประมงและชุมชนทั่วไปมีสุขภาวะที่ดีภายใต้อาหารทะเลที่ปลอดภัย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการผลิตอาหารปลอดภัย

บอก อธิบาย หลักเกณฑ์ของอาหารปลอดภัยได้ชุมชนละไม่น้อยกว่า 10 คน -นำความรู้ความเข้าใจไปฎิบัติได้

2 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการสร้างและติดตามมาตรฐานอาหารทะเลปลอดภัย

-เกิดคณะทำงานด้านมาตรฐานอาหารปลอดภัย - เกิดมาตรฐานอาหารปลอดภัยที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน

3 เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชน

-เกิดผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยในชุมชน ไม่น้อยกว่า 3 ชนิด - มีบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค - มีการบริโภคอาหารปลอดภัยที่เป็นผลผลิตของชุมชน ไม่น้อยกว่า ชุมชนละ 10 ครัวเรือน หรือ 40 คน/ชุมชน (ฉลี่ยครัวเรือนละ 4คน) รวม 200 คน - มีจุดจำหน่ายและช่องทางกระจายสินค้า ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย จำนวน 4 จุด เช่น โซนบน ตลาดแม่ขรี โซนกลาง ตลาดพัทลุงและศูนย์โอทอปพัทลุง โซนปลายน้ำ ตลาดบางแก้ว/เพจร้านคนจับปลาทะเลสาบพัทลุง รวมถึงช่องทางการจำหน่าย on site และ on line - ชุมชนมีรายได้เพื่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท/ เดืน

4 เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ

เข้าร่วมกิจกรรมกับแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 280
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เป้าหมายรอง 200 -
เป้าหมายหลัก 80 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 466 100,356.00 23 100,356.00
16 ก.พ. 66 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน หลักสตรูการปฐมนิเทศก่อนดำเนิ่นโครงการ 4 568.00 568.00
19 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 15 3,050.00 3,050.00
21 มี.ค. 66 รับเช็คเงินโครงการส่งเสริมการบริโภคและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2 560.00 560.00
19 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 15 2,050.00 2,050.00
27 เม.ย. 66 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผลกระทบจากการผลิตและบริโภคอาหารที่ไม่ผ่านมาตรฐานส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (เวที่เปิดโครงการ) 70 13,100.00 13,100.00
19 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 15 2,050.00 2,050.00
25 พ.ค. 66 จัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลในชุมชน 5 5,800.00 5,800.00
10 มิ.ย. 66 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยและทดลองปฎิบัติการ ร้านคนจับปลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 20 12,900.00 12,900.00
19 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 15 2,050.00 2,050.00
25 มิ.ย. 66 เวทีสังเคราะห์และคืนข้อมูลผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลในชุมชน 30 6,600.00 6,600.00
19 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 15 2,050.00 2,050.00
22 ก.ค. 66 เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 20 3,500.00 3,500.00
24 ก.ค. 66 กิจกรรมติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม (ARE) ครั้งที่1 3 568.00 568.00
19 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 15 2,050.00 2,050.00
19 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 15 2,050.00 2,050.00
27 ก.ย. 66 ฝึกอบรมการกำหนดมาตฐานอาหารปลอดภัยที่สอดคล้องกับพื้นที่ 30 6,300.00 6,300.00
11 ต.ค. 66 ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการแปรรูปอาหารทะเลภายใต้มาตรฐาน จำนวน 5ชนิด 30 9,300.00 9,300.00
16 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 15 2,050.00 2,050.00
17 ต.ค. 66 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ 20 4,700.00 4,700.00
19 ต.ค. 66 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา{ARE} ครั้งที่2 20 3,400.00 3,400.00
28 ต.ค. 66 เวทีนำเสนอผลผลิตจากชุมชนภายใต้มาตรฐาน(เวทีสรุปผลการดำเนินโครงการ) 80 12,900.00 12,900.00
31 ต.ค. 66 กิจกรรมติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม (ARE) ครั้งที่2 2 640.00 640.00
19 ธ.ค. 66 เวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 10 2,120.00 2,120.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 22:01 น.