directions_run

โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-008
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง
ผู้รับผิดชอบโครงการ กามีละฮ์ หะยียะโกะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 093-6591361
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ nailandnur@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวคนึงนิจ มากชูซิต
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.713653,101.455029place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 80,000.00
2 1 ม.ค. 2567 29 ก.พ. 2567 1 ม.ค. 2567 29 ก.พ. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานเศรษฐกิจ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลพื้นฐานของตำบล ประวัติความเป็นมาของตำบล     คำว่า พ่อมิ่ง เป็นภาษาไทย คนในท้องถิ่นจะออกเสียงว่า พ่อเม่ง เล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นคำที่มีเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า เผาเมรุ เดิมเป็นหมู่บ้านของชาวไทยพุทธที่สืบเชื้อสายมาจากสุโขทัย ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของตำบลพ่อมิ่งในปัจจุบัน ซึ่งบริเวณนี้เรียกว่า กำปงลามอ ต่อมาได้มีเจ้าอาวาสของวัดมรณภาพ ได้มีการจัดงานศพสร้างเมรุบรรจุศพ แล้วได้ลากเมรุไปเผาที่บริเวณทุ่งนาในตำบลพ่อมิ่งนี้ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ที่เผาเมรุต่อมาจึงเพี้ยนเป็นพ่อมิ่ง จนกลายเป็นชื่อตำบลมาจนถึงทุกวันนี้ สภาพทั่วไป ที่ตั้งเทศบาลตำบลพ่อมิ่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี มีระยะทางห่างจาก      อำเภอปะนาเระ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดปัตตานี ประมาณ 35 กิโลเมตร เนื้อที่ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,750 ไร่ หรือ 19.40 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ - ทิศเหนือติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อ - ทิศใต้ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลแป้น - ทิศตะวันออกติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลคอกกระบือ - ทิศตะวันตกติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อ ลักษณะภูมิประเทศสภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาทิศเหนือ และทิศใต้เป็นแนวเทือกเขา บริเวณ  ใจกลางของตำบลเป็นที่ราบลุ่ม มีฝนตกตลอดปี ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในชุมชน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อโอกาสในการประกอบอาชีพของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) พบว่าในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2564 ประเทศไทยประสบกับภาวะการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุด โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 8.7 แสนคน จากจำนวนผู้ว่างงานดังกล่าว เป็นกลุ่มเด็กจบใหม่ถึงเกือบ 3 แสนคน ซึ่งการว่างงานเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนรุ่นใหม่และครอบครัว รวมถึงโอกาสที่จะได้เข้าสู่ตลาดแรงงานจะยากยิ่งขึ้นขณะเดียวกัน กลุ่มเด็กเปราะบางที่สุด โดยเฉพาะเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษา นอกระบบการจ้างงาน หรือการพัฒนาทักษะ สถิติล่าสุด พบว่า กลุ่มดังกล่าวอายุระหว่าง 15-24 ปี มีกว่า 1.4 ล้านคน คิดเป็น 15%
ทั้งนี้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในจังหวัดปัตตานี คือ เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ซึ่งเยาวชนส่วนใหญ่มีฐานะทางบ้านยากจน และเป็นผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษารวมถึงพื้นที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน" ซึ่งพัวพันกันอย่างแนบแน่น ปัญหาความยากจนก็เป็นหนึ่งในสาเหตุให้เกิดปัญหาเด็กนักเรียนออกจากโรงเรียนกลางคัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงและควรได้รับการแก้ไข นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ อีกตามมามากมาย ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากใน บริบทพื้นที่ มีอีกหลายครอบครัวที่มีพื้นฐานฐานะที่ยากจน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ใช้เวลาส่วนมากในการประกอบอาชีพทำมาหากิน ไม่มีเวลาที่จะอบรมลูกหลานและส่วนใหญ่ยังขาดการส่งเสริมลูกหลานให้เรียนหนังสือ เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งลูกหลาน  เรียนหนังสือ จากการสำรวจปัญหาดังกล่าว หมู่ที่ 3 ตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี พบว่า มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 362 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,525 คน เพศชาย 714 คน และเพศหญิงจำนวน 811 เป็นเยาวชนที่อยู่ในช่วงอายุ 15-25 ปี จำนวน 200 คน พบว่า มีเด็กและเยาวชนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษามีจำนวนกว่า 40 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ของเด็กและเยาวชนช่วงอายุระหว่าง 15-25 ปี
นอกจากนี้ยังได้พบสถานการณ์ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษา ได้แก่ 1. ด้านพฤติกรรม พบว่า - มีพฤติกรรมก้าวร้าว 40 คน - ลักเล็กขโมยน้อย 20 คน - ติดยาเสพติด 40 คน - เบี่ยงเบนทางเพศ 20 คน
- ขับรถซิ่ง/เด็กแว๊นซ์ 30 คน - ไม่มั่นใจในตนเอง 2. ด้านสังคม พบว่า - โดนเพื่อนล้อว่าเรียนหนังสือไม่เก่ง - ครอบครัวไม่มีเวลาดูแลลูกและดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีพี่น้องหลายคน - ฐานะทางบ้านยากจน - ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่แยกทางกัน 3. ด้านลักษณะทางกายภาพ พบว่า - ในชุมชนมีแหล่งมั่วสุมยาเสพติด - ถนนหลายสายในชุมชนเอื้อต่อการแข่งรถ และขับรถซิ่ง - มีกลุ่มเพื่อนที่ชักชวนกันไปทำเรื่องไม่ดี - มีกลุ่มแม่วัยใส ที่ตั้งครรภ์ขณะเรียนหนังสือ 4. ด้านระบบกลไกที่เกี่ยวข้อง พบว่า
- ชุมชนไม่เห็นความสำคัญของเยาวชนนอกระบบการศึกษา
- กลไกภาครัฐยังไม่เข้าถึงเยาวชนนอกระบบการศึกษา
- ขาดภาคีเครือข่ายที่หนุนเสริมการทำงานในชุมชน จากสภาพปัญหาทั้ง 4 ด้าน ส่งผลกระทบที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. ผลกระทบด้านสุขภาพ พบว่า เยาวชนนอกระบบการศึกษามีพฤติกรรมติดยาเสพติด ก้าวร้าว เบี่ยงเบนทางเพศ ลักเล็กขโมยน้อย ติดเกมส์ เด็กแว๊นซ์ ภาวะเครียด
2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่า ครอบครัวขาดรายได้เนื่องจากต้องเลี้ยงดูเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และเยาวชนที่ไปรับจ้างทำงาน ไม่ได้รับค่าจ้างที่เพียงพอเนื่องจากไร้ฝีมือ 3. ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า ขาดการเอาใจใส่ดูและซึ่งกันและกันในครอบครัว (ต่างคนต่างอยู่) สังคมมองเยาวชนนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กชายขอบ (เหลือขอ) ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ชาวบ้านในชุมชนมีความหวาดระแวงกันกลัวเยาวชนจะเข้ามาขโมยเข้าของในบ้าน และเยาวชนที่ชอบขับรถซิ่งชาวบ้านมีความรู้สึกรำคาญ เนื่องจากทำให้เกิดความเสียงดัง/รบกวนชุมชน ทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งน่าเป็นห่วง จึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และต้องการดำเนินโครงการให้เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการบางส่วนมีทักษะอาชีพติดตัว สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ บางส่วนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างเป็นปกติ
ทั้งนี้จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทางหน่วยงานเทศบาลตำบลพ่อมิ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนนอกระบบการศึกษาทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม โดยหน่วยงานเทศบาลตำบลพ่อมิ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการ“การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน”กับ อบจ. เพื่อให้เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ และมีงานทำและมีการดำรงชีวิตที่ดีมากขึ้น ไม่เป็นปัญหาของสังคมอีกต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษารูปแบบอาชีพที่สอดคล้องกับพื้นที่ของเยาวชนนอกระบบการศึกษาในตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
  1. เกิดคณะทำงานและกลไกการขับเคลื่อนงาน อย่างน้อย 15 คน ที่มาจากหลากหลายกลุ่ม/องค์กร เช่นผู้นำ เทศบาล รพ.สต. มีความรู้เข้าใจรายละเอียดและการขับเคลื่อนโครงการ และมีข้อมูลชุมชน ข้อมูลเยาวชนในการขับเคลื่อนงาน
  2. เกิดกติกาของคณะทำงานและกลไก มีแผนการทำงานตลอดโครงการ และ มีแผนในการติดตามเยาวชนจำนวน 50 คน
  3. เยาวชนนอกระบบจำนวน 50 คน เกิดการเรียนรู้/รู้จักชุมชนตนเองมากขึ้นผ่านเครื่องมือ การสำรวจชุมชน การทำแผนที่ทำมือ
  4. เกิดชุดองค์ความรู้ และได้ทักษะอาชีพ จำนวน 50 คน
2 เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของเยาวชนนอกระบบการศึกษาในตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
  1. เยาวชนได้ทักษะอาชีพที่ถนัด จำนวน ร้อยละ 10
  2. เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน และรู้ต้นทุนทรัพยากรในชุมชนของตนเองสามารถนำไปปรับใช้ได้ จำนวน 50 คน
  3. เกิดเยาวชนจำนวน 50 คน ที่มีทักษะทางสังคมที่สามารถนำไปใช้เพื่อปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ในครอบครัวชุมชนและสังคม
  4. เกิดพื้นที่สร้างสรรค์/พื้นที่การเรียนรู้ และเยาวชนต้นแบบ จำนวน 10 คน มีอาชีพและมีรายได้
  5. เกิดเยาวชน จำนวน 50 คน ได้รับการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้ปกครองและประชาชนในชุมชน 100 -
เยาวชนนอกระบบการศึกษา 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน(6 มิ.ย. 2566-29 ธ.ค. 2566) 9,000.00                    
2 สนับสนุนการบริหารจัดการ(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 10,000.00                    
3 กิจกรรม ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง(11 มิ.ย. 2566-11 มิ.ย. 2566) 0.00                    
4 กิจกรรมที่ 3 เวทีชี้แจงโครงการและคืนข้อมูล(25 มิ.ย. 2566-25 มิ.ย. 2566) 11,800.00                    
5 กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลเชิงลึกของเยาวชน(1 ส.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 18,350.00                    
6 กิจกรรมที่ 4 อบรมการทำบัญชีครัวเรือน รู้กิน รู้ใช้ เข้าใจ(23 ต.ค. 2566-23 ต.ค. 2566) 12,400.00                    
7 กิจกรรมที่ 5 สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่การเรียนรู้แก่เยาวชน(17 พ.ย. 2566-18 พ.ย. 2566) 29,450.00                    
8 กิจกรรมที่ 6 ถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนนอกระบบในชุมชนตำบลพ่อมิ่ง(9 ธ.ค. 2566-10 ธ.ค. 2566) 9,000.00                    
รวม 100,000.00
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 9,000.00 5 9,000.00
17 มิ.ย. 66 จัดประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน ครั้งที่ 1 15 1,800.00 1,800.00
24 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 (จัดตั้งทีมดูแลเยาวชน) 0 1,800.00 1,800.00
15 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 (ออกแบบสำรวจ) 0 1,800.00 1,800.00
9 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 (เตรียมงานอบรมอาชีพ) 0 1,800.00 1,800.00
16 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 (สรุปกิจกรรมและคืนข้อมูลสู่ชุมชน) 0 1,800.00 1,800.00
2 สนับสนุนการบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1 10,000.00 14 10,000.00
6 - 7 มิ.ย. 66 เวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 0 2,028.00 2,028.00
5 ก.ค. 66 1. ค่าป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ 2.ค่าป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. 3.ค่าป้ายบันไดผลลัพธ์ 0 1,230.00 1,230.00
19 ก.ค. 66 ค่าเดินทางไปพบพี่เลี้ยง 0 328.00 328.00
5 ส.ค. 66 ค่าเดินทางไปเบิกเงินที่ธนาคาร 0 330.00 330.00
5 ส.ค. 66 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการโครงการ 0 381.00 381.00
5 ส.ค. 66 ค่าปั้มตรายาง 0 535.00 535.00
25 ก.ย. 66 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1 0 328.00 328.00
18 ธ.ค. 66 ค่าเดินทางประชุมกับทีมงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่ายโครงการ 0 328.00 328.00
26 ธ.ค. 66 ค่าเดินทางเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่ายโครงการ 1 328.00 328.00
6 ม.ค. 67 ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า 0 2,000.00 2,000.00
6 ม.ค. 67 ค่าโปสเตอร์และ X-Stand 0 1,200.00 1,200.00
6 ม.ค. 67 ค่าเดินทางไปพบพี่เลี้ยง (ตรวจสอบเอกสาร) 0 328.00 328.00
15 ม.ค. 67 ARE หน่วยจัดการแผนร่วมทุน (30 โครงการ) ครั้งที่ 2 0 328.00 328.00
17 ม.ค. 67 ค่าเดินทางตรวจสอบเอกสารทางการเงิน 0 328.00 328.00
3 กิจกรรม ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 4 0.00
5 มิ.ย. 66 ARE 1 คลี่แผนงานโครงการ 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 66 ARE 2 ติดตามผลลัพธ์ 0 0.00 0.00
1 ต.ค. 66 ARE 3 0 0.00 0.00
1 ม.ค. 67 ARE 4 0 0.00 0.00
4 กิจกรรมที่ 3 เวทีชี้แจงโครงการและคืนข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 11,800.00 1 11,800.00
8 ก.ค. 66 จัดเวทีชี้แจงโครงการ 65 11,800.00 11,800.00
5 กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลเชิงลึกของเยาวชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 18,350.00 3 18,350.00
22 - 23 ก.ค. 66 สำรวจเก็บข้อมูลของเยาวชนในพื้นที่ชุมชนบ้านพ่อมิ่ง 65 5,200.00 5,200.00
29 ก.ค. 66 จัดทำแผนที่ชุมชนเรียนรู้ 0 13,150.00 13,150.00
16 ก.ย. 66 กิจกรรมฮาลาเกาะฮ์ เพื่อปรับ Mindset 0 0.00 0.00
6 กิจกรรมที่ 4 อบรมการทำบัญชีครัวเรือน รู้กิน รู้ใช้ เข้าใจ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 12,400.00 1 12,400.00
12 ส.ค. 66 อบรมการทำบัญชีครัวเรือน 65 12,400.00 12,400.00
7 กิจกรรมที่ 5 สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่การเรียนรู้แก่เยาวชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 29,450.00 3 29,450.00
23 ก.ย. 66 กิจกรรม ศึกษาดูงาน 65 0.00 0.00
23 ก.ย. 66 อบรมอาชีพแก่เยาวชน (ปลูกผักยกแคร่) 0 21,050.00 21,050.00
30 ก.ย. 66 กิจกรรมเสริมรายได้ให้แก่เยาวชน (ขายออนไลน์) 0 8,400.00 8,400.00
8 กิจกรรมที่ 6 ถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนนอกระบบในชุมชนตำบลพ่อมิ่ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 9,000.00 2 9,000.00
9 ธ.ค. 66 ถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนนอกระบบในชุมชนตำบลพ่อมิ่ง 65 9,000.00 9,000.00
9 ธ.ค. 66 ประกวดเยาวชนต้นแบบ 0 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 563.35 2 563.35
23 ม.ค. 67 ถอนเงินเปิดบัญชี 0 500.00 500.00
24 ม.ค. 67 ดอกเบี้ยคืนแผนงานร่วมทุน 0 63.35 63.35

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีสุขภาวะทางกายและใจ การใช้เวลาว่างที่ดีขึ้น
  2. เยาวชนได้รับการส่งเสริมสุขภาวะทั้งตนเอง และได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
  3. มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน เช่น ความต้องการของตนเองที่แท้จริง แบบแผนการดำเนินชีวิต มีวิธีคิดที่ดี
  4. เยาวชนสามารถบริหารจัดการเวลาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
  5. เยาวชนสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้และมีงานทำ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 14:46 น.