insights

รายงาน - สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม ปี 2566

จำนวนโครงการแต่ละจังหวัด

สงขลา 49
ตรัง 34
ยะลา 24
ปัตตานี 18
นราธิวาส 15
สตูล 12
พัทลุง 8
ภาคใต้ 7

ประเภทกิจกรรม

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา 46
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ 23
การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย 19
การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน 16
การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก 13
การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว 12
การประเมินติดตามผล 11
การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 10
การส่งเสริมสุขภาพ 8
ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ) 8
การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย 6
การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5
การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง 3
การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3
การจัดการความรู้ งานวิจัย 3
การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ 3
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้ 2
อื่นๆ 1
การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ 1

งบประมาณแต่ละหน่วยงาน

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) 67124500
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 18020000
ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 14252300
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดปัตตานี 10010160
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 8952060
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 4177650
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จ.ปัตตานี 2155000
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดพัทลุง 1403125
กองทุนฟื้นฟูจังหวัดสงขลา 1200000
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสตูล 815000
มูลนิธิชุมชนสงขลา 800000
สมาคมอาสาสร้างสุข 520000
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 410000
สมาคมคุ้งครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี 400000
โรงพยาบาลหาดใหญ่ 376450
ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) 266000
สมาคมสร้างสุขคนเมืองลุง 260000
มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 260000
สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล 260000
เครือข่าย Next Gen. (สช.) ดำเนินการโดยสมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด (PPS) 260000
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11 239960
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา 161500
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 157600
งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลรามัน 153330
โรงพยาบาลกันตัง 134000
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดปัตตานี 100000
กองทุนฟื้นสมรรถภาพจังหวัดตรัง 80000
งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรงปีนัง 60000
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 36000
กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ 31000
กลุ่มงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลสุไหงโกลก ร่วมกับเครือข่ายนักกายภาพบำบัด จังหวัดนราธิวาส 22892
กองทุนฟื้นฟูสมรรถาภาพ จังหวัดยะลา 20000
งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนโดน 13800
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 12000
งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสะบ้าย้อย ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล 10000
เครื่อข่ายนักกายภาพบำบัดเขตสุขภาพที่ 12 ร่วมกับ ศอ.บต. 0
รพสต นาเกตุ 0
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดยะลา 0

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์

ผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานในเขต 12 12000
ตนพิการ 1000
คนพิการ 812
ผู้สูงอายุ 809
ชุมชน 500
อาสาสมัครสาธารณสุข 500
ชุมชน 8 หมูู่บ้าน 500
ผู้ร้องขอมีบัตรประจําตัวประชาชนและบุคคลอ้างอิงหรือ 400
กลุ่มวัยรุ่น/เยาวนคนรุ่นใหม่ 390
ผู้สูงอายุและคนพิการในพื้นที่จังหวัดสตูล 250
แรงงานนอกระบบ 200
ประชาชนผู้เข้าร่วมรับฟังชี้แจงขั้นตอนกระบวนการตรวจ 200
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงาน พม. ในเขตรับผิดชอบ 200
ภาคีเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ 200
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 200
เด็กนักเรียน 100
เด็กนอกระบบ 100
กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ กล 100
ผู้สูงอายุและผู้พิการที่สมควรได้รับการดูแลและฟื้นฟ 100
ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 100
จ้าหน้าที่สํานักทะเบียนอําเภอ สํานักทะเบียนท้องถิ่ 60
บุคลากรสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๑ 50
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคลินิกผู้สูงอายุ 50
ผู้ดูแลหลัก (care giver) 50
กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มปลูกไม้ผล 50
คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 40
ผู้ป่วยติดเตียง 4
info
สถานการณ์ปัญหา

ข้อมูลพื้นฐาน จากรายงานสถานการณ์ทางสังคมภาคใต้ตอนล่าง ปี 2565 โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11 (สสว.11)
-กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ตั้งอยู่ตอนล่างสุดปลายด้ามขวานของประเทศไทย บริเวณภาคใต้ตอนล่างที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง ที่ 7 องศา 5 ลิปดา ถึง 7 องศา 55 ลิปดา เหนือ และเส้นแวง ที่ 99 องศา 44 ลิปดา ถึง 100 องศา 25 ลิปดา ตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟ สายใต้ประมาณ 846 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 1,200 กิโลเมตร ทางทะเล 725 กิโลเมตร ติดต่อทะเลอ่าวไทย ด้านทิศตะวันออก ระยะทาง 355 กิโลเมตร ติดต่อทะเลอันดามัน ด้านทิศตะวันตก ระยะทาง 296 กิโลเมตร ส่วนด้านทิศใต้ติดต่อประเทศมาเลเซียระยะทาง 500 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 29,479.79 ตารางกิโลเมตร แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 จังหวัด ประกอบด้วย ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา และสตูล โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดคือจังหวัดสงขลา รองลงมาคือจังหวัดตรัง นราธิวาส ยะลา พัทลุง สตูล และปัตตานี ตามลำดับ ลักษณะภูมิประเทศมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาสันกาลาคีรี ลักษณะภูมิอากาศของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง สามารถแบ่งลักษณะออกเป็น 2 บริเวณ คือฝั่งตะวันออกซึ่งอยู่ในกลุ่มภูมิอากาศเขตร้อนชื้น ส่วนฝั่งตะวันตก จัดอยู่ในภูมิอากาศเขตฝนมรสุม มีการปกครองส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 77 อำเภอ 565 ตำบล 4,310 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 5,000,255 คนแบ่งเป็นประชากรชาย 2,456,770 คน คิดเป็นร้อยละ 49.13 ประชากรหญิง 2,543,485 คน คิดเป็นร้อยละ 50.87 ความหนาแน่น ของประชากรต่อพื้นที่คิดเป็น 169.62 คน/ตร.กม. หนาแน่นมากที่สุดคือ จังหวัดปัตตานี 376 คน/ตร.กม.

ด้านสุขภาพ หน่วยบริการสาธารณสุข ภาครัฐและภาคเอกชนของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีจำนวน 944 แห่ง โดยจังหวัดที่มีหน่วยบริการมากที่สุด คือ สงขลา 198 แห่ง รองลงมาปัตตานี 159 แห่ง และตรัง 146 แห่ง ภาคใต้ตอนล่างมีประชากร 5,000,255 คน มีแพทย์ทั้งหมด 1,976 คน สัดส่วน ประชากรต่อแพทย์ 2,530 : 1 คน จังหวัดที่มีแพทย์มากที่สุด คือ ปัตตานีจำนวน 525คน ประชากรต่อแพทย์ 1,390 : 1 คน รองลงมาสงขลา จำนวน 519 คน ประชากรต่อแพทย์ 2,758 : 1 คน ยะลา จำนวน 271 คน ประชากรต่อแพทย์ 1,889 : 1 คน นราธิวาส จำนวน 219 คน ประชากรต่อแพทย์ 3,728 : 1 จังหวัดตรัง จำนวน 189 คน ประชากรต่อแพทย์ 3,385 : 1 และจังหวัดพัทลุง จำนวน 156 คน ประชากรต่อแพทย์ 3,349 : 1 ส่วนจังหวัดที่มีแพทย์น้อยที่สุด คือ จังหวัดสตูล จำนวน 97 คน ประชากรต่อแพทย์ 3,348 : 1 คน

ด้านการศึกษา จำนวนนักเรียน นักศึกษา จำแนกตามระดับชั้นทั้งหมดรวม 1,174,473 คน และมีสถานศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ รวม 4,296 แห่ง แบ่งเป็น สังกัด สพฐ. จำนวน 2,114 แห่ง เอกชน จำนวน 844 แห่ง อาชีวศึกษา จำนวน 50 แห่ง อุดมศึกษา 33 แห่ง ท้องถิ่น 1,049 แห่ง สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 24 แห่ง และสถานศึกษานอกระบบ จำนวน 1,084 แห่ง สังกัด กศน. จำนวนนักเรียนออกกลางคันระดับประถม-มัธยมตอนปลาย ปีการศึกษา 2560 - 2564 ทั้งหมดจำนวน 19,507 คน โดยปีที่มีการออกกลางคันมากที่สุดปี 2560 จำนวน 5,388 คน รองลงมาปี 2561 จำนวน 5,319 คน และปี 2562
จำนวน 3,812 คน ตามลำดับ

ด้านแรงงาน ภาวะการมีงานทำของประชากรในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ในปี 2564 มีกำลังแรงงาน รวมจำนวน 2,598,835 คน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ จำนวน 2,515,192 คน และผู้ว่างงาน จำนวน 83,643 คน และเป็นกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล จำนวน 730 คน โดยมีผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานรวมจำนวน 1,075,550 คนและในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ พ.ศ.2560 - 2564 ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มากที่สุดในปี 2562 จำนวนรวม 85,492 คน รองลงมาปี 2560 จำนวน 75,230 คน ปี 2563 จำนวน 73,137 คน ปี 2564 จำนวน 61,208 คน และปี 2561 จำนวน 59,586 คน ตามลำดับ

ด้านที่อยู่อาศัย ชุมชนผู้มีรายได้น้อย ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ปี 2565 พบว่าในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่างมีจำนวนชุมชนผู้มีรายได้น้อย 198 ชุมชน 30,327 ครัวเรือน จำนวน 126,838คน

ด้านเศรษฐกิจและรายได้แสดงการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่างแสดงการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ ปี 2563 ภาพรวมหดตัว โดยจังหวัดนราธิวาส หดตัวมากที่สุด ร้อยละ -7.6 รองลงมาจังหวัดปัตตานีร้อยละ -3.38 จังหวัดสงขลาร้อยละ -2.3 ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per capita) ปี 2563 พบว่า จังหวัดสงขลา มีผลิตภัณฑ์จังหวัด ต่อหัว มากที่สุด จำนวน 140,561 บาท/ปี รองลงมาจังหวัดสตูล จำนวน 111,682 บาท/ปี ถัดมาคือ จังหวัดตรังจำนวน 105,448 บาท/ปี

รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน พ.ศ.2560 - 2564 พบว่าภาพรวมในปี 2564 จังหวัดที่มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนลดลงจากปี 2562 ได้แก่ จังหวัดตรัง นราธิวาส และปัตตานี ภาพรวมลดลงร้อยละ 5.95 จังหวัดที่มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น จาก ปี2562 ได้แก่จังหวัดพัทลุง ยะลา สงขลา และสตูล ภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.69 หนี้สิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือนจำแนกวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม ปี 2560-2564 พบว่าในปี 2564 มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนรวมทั้งสิ้น 976,709.49 บาท จังหวัดที่มีหนี้สินต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และสตูล จังหวัดที่มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนลดลงในปี 2564 ได้แก่ จังหวัดตรัง ปัตตานีพัทลุง และสงขลา โดยวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม 3 อันดับแรก คือ ลำดับที่ 1 เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน จำนวน 424,987.94 บาท ลำดับที่ 2 เพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน จำนวน 318,358.90 บาท ลำดับที่ 3 เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร 126,409.59 บาท

องค์กรภาคีเครือข่าย ปี 2565 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พบว่าองค์กรภาคีเครือข่ายที่มีมากที่สุดคือ องค์กรสาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม จำนวน 738 แห่ง มีมากในจังหวัดสงขลา รองลงมาสภาเด็กและเยาวชน จำนวน 686 สภา ถัดมาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) จำนวน 593 แห่ง กองทุนสวัสดิการสังคม จำนวน 551 แห่ง ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชส.ต.) จำนวน 534 แห่ง ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป จำนวน 489 แห่ง องค์กรสวัสดิการชุมชน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม จำนวน 408 แห่ง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ (ศพอส.) จำนวน 150 แห่ง สภาองค์กรคนพิการ จำนวน 35 แห่ง สำหรับจำนวนภาคีเครือข่ายอาสาสมัคร ปี 2565 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พบว่าเครือข่ายอาสาสมัครที่มีมากที่สุดคือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จำนวน 26,740คน มีมากในจังหวัดปัตตานีจำนวน 9,411 คน รองลงมา จังหวัดพัทลุง จำนวน 4,062 คน และจังหวัดสตูล 3,745 คน และข้อมูลคลังปัญญาผู้สูงอายุจำนวน 2,914คน มีมากในจังหวัดพัทลุง จำนวน 752 คน รองลงมา จังหวัดตรัง จำนวน 606 คน และจังหวัดยะลา จำนวน 529 คน ตามลำดับ

สถานการณ์กลุ่มเป้าหมายทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัดจากข้อมูลรายงานสถานการณ์จำนวนกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ในปี พ.ศ. 2565 มีดังนี้
-สถานการณ์เด็ก อายุ 0-17 ปี มีประชากรจำนวน 1,202,886 คน ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 0.36 เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 7 จังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีการลงทะเบียนเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 3 อันดับแรก จังหวัดสงขลา นราธิวาส ปัตตานีประเด็นเด็กนอกระบบ 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ประเด็นเด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา นราธิวาส และตรัง ประเด็นเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา นราธิวาส และสตูล ตามลำดับ

-สถานการณ์เยาวชน อายุ 18-25 ปี มีประชากรจำนวน 501,624 คน ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 0.26 เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 7 จังหวัด พบว่า จังหวัดที่ควรเฝ้าระวังประเด็นเยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 3 อันดับแรกได้แก่ จังหวัดตรัง สงขลา และสตูล ประเด็นเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจและทางเพศ 3 อันดับ ได้แก่ จังหวัดสงขลา ยะลา และสตูล ตามลำดับ

-สถานการณ์สตรี อายุ 26-59 ปี มีประชากรจำนวน 1,550,077 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 0.05เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 7 จังหวัด พบว่า จังหวัดที่ควรเฝ้าระวังประเด็นประเด็นสตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงาน 3 อันดับแรกได้แก่ จังหวัดปัตตานี สงขลา และตรัง แม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจน 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา ยะลา และนราธิวาส ประเด็นสตรีที่ถูกทำร้ายร่างกาย/จิตใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี และตรัง ตามลำดับ

-สถานการณ์ครอบครัว จำนวน 1,748,531 ครอบครัว เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ1.58 เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 7 จังหวัด พบว่า จังหวัดที่ควรเฝ้าระวังประเด็นครอบครัวยากจน 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัด ยะลา ปัตตานีและสงขลา ประเด็นครอบครัวหย่าร้าง 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา ตรัง และพัทลุง ประเด็นครอบครัวที่มีคนในครอบครัวกระทำความรุนแรงต่อกัน 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี สงขลา ตรัง ตามลำดับ

-สถานการณ์ผู้สุงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป มีประชากรจำนวน 807,487 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 0.26 เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 7 จังหวัด พบว่า จังหวัดที่ควรเฝ้าระวังประเด็นผู้สูงอายุติดบ้าน 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล และตรัง ประเด็นผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง สตูลและปัตตานีประเด็นผู้สูงอายุที่ดำรงชีพด้วยการเร่ร่อนขอทาน 3 อันดับ ได้แก่ จังหวัดสงขลา ยะลา และปัตตานีตามลำดับ

-สถานการณ์คนพิการ มีคนพิการที่มีบัตรประจำตัว โดยจดทะเบียนคนพิการจำนวน 143,878 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 6.75 เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 7 จังหวัด พบว่า ประเด็นประเภทความพิการด้านความเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย มากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน76,522 คน รองลงมา พิการด้านการได้ยินหรือการสื่อความหมาย จำนวน 27,905 คน และพิการด้านจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 13,054 คน พิการมากกว่า 1 ประเภท จำนวน 12,309 คน ตามลำดับ

-สถานการณ์ผู้ด้อยโอกาส มีจำนวน 155,438 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 11.19 เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 7 จังหวัด พบว่า จังหวัดที่ควรเฝ้าระวังประเด็นคนยากจน 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานีสงขลาและยะลา ประเด็นติดเชื้อ HIV 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง และนราธิวาส ประเด็นผู้พ้นโทษ 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตรัง ปัตตานี และพัทลุง ตามลำดับ

สถานการณ์เชิงประเด็นสังคมทางสังคมในระดับกลุ่มจังหวัด -สถานการณ์กลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ปีงบประมาณ 2564 - 2565 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกับ 12 กระทรวง 1 หน่วยงาน โดยกำหนดให้ใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) ครัวเรือนเปราะบาง 4.1 ล้านครัวเรือน เป็นฐานข้อมูลหลักมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้กินดีอยู่ดีจำนวนคนที่ต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ที่เรียกว่าคนเปราะบางนั้น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.11 มีทั้งสิ้น 877,671คน คิดเป็นร้อยละ 17.55เมื่อจำนวนคนเปราะบางเทียบกับจำนวนประชากรในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มคนเปราะบาง TPMAP คือ บุคคลที่ต้องการได้รับการพึ่งพิงจากผู้อื่น เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น ครอบครัวยากจนที่มีเด็กเล็ก แม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นต้น กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีคนเปราะบางจำนวน 877,671คน โดยแบ่งตามมิติต่าง ๆ 5 มิติ ดังนี้ 1) มิติด้านความเป็นอยู่ จำนวน 31,223 คน 2) มิติด้านการศึกษา จำนวน 31,770คน 3) มิติด้านสุขภาพ จำนวน 18,885 คน 4) มิติด้านรายได้ จำนวน 36,698 คน 5) มิติด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐจำนวน 135 คน

การวิเคราะห์และจัดลำดับของสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัด -กลุ่มเด็ก พบว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีเด็กนอกระบบ จำนวน 73,657คน คิดเป็นร้อยละ 6.12ของประชากรเด็กทั้งหมดทั้งในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด รองลงมา เด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว จำนวน 5,666 คน คิดเป็นร้อยละ 0.47 ของประชากรเด็กทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด และเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร จำนวน 1,541 คน คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของประชากรเด็กทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด (เพศหญิง อายุ 10-17 ปี จำนวน 288,949 คน) -กลุ่มเยาวชน พบว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีเยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 962 คน คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของประชากรเยาวชนทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด และเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจและทางเพศ จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของประชากรเยาวชนทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด -กลุ่มสตรีพบว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีสตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงาน จำนวน 13,225 คน คิดเป็นร้อยละ 0.85 ของประชากรสตรีทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด รองลงมา แม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจน จำนวน 7,181 คน คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของประชากรสตรีทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด และสตรีที่ถูกทําร้ายร่างกาย จิตใจ จำนวน 161 คน คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของประชากรสตรีทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด -กลุ่มครอบครัว พบว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีครอบครัวยากจน จำนวน 81,939 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 4.81 ของกลุ่มครอบครัวทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด รองลงมา ครอบครัวหย่าร้างจำนวน 5,353 คน
คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของกลุ่มครอบครัวทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด และครอบครัวที่มีคนในครอบครัวกระทำความรุนแรงต่อกัน จำนวน 98 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของกลุ่มครอบครัวทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด -กลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 14,078 คน คิดเป็นร้อยละ1.74 รองลงมา ผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 8,672 คน คิดเป็นร้อยละ 1.07 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด และผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม จำนวน 3,843 คน คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด -กลุ่มคนพิการ พบว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีประเด็นความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 76,522 คน คิดเป็นร้อยละ 53.19 ของประชากรกลุ่มคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดรองลงมา ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 27,905 คน คิดเป็นร้อยละ 19.39 ของประชากรกลุ่มคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด และความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 13,054 คน คิดเป็นร้อยละ 9.07 ของประชากรกลุ่มคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด -กลุ่มผู้ด้อยโอกาส พบว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีคนยากจน จำนวน 136,482 คน คิดเป็นร้อยละ 87.78 ของประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด รองลงมา ผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 7,788 คน คิดเป็นร้อยละ 8.05 ของประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด และผู้พ้นโทษ จำนวน 3,558 คน คิดเป็นร้อยละ 4.05 ของประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด

  • พฤติกรรม : ความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติในการใช้ชีวิตของบุคคล
  • เศรษฐกิจ: ไม่มีรายได้ ยากจน มีหนี้สิน สถานการณ์โควิดทำให้รายได้ของครัวเรือนที่มีกลุ่มเปราะบางทุกประเภท (ยกเว้นกลุ่มผู้สูงอายุ) ลดลงในช่วงโควิดมากกว่าครัวเรือนที่ไม่มีกลุ่มเปราะบาง
  • สังคม : เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย อยู่อาศัยแบบครอบครัวเดี่ยว ขาดคนดูแล
  • สิ่งแวดล้อม : ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ระบบบริการ : การเข้าถึงสิทธิ์บริการพื้นฐานในกลุ่มคนเร่ร่อน ต่างถิ่น ไม่มีบัตรประชาชน หรือบัตรคนพิการ การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก การประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด(กรกฏาคม ๖๕)กลุ่มที่มีโอกาสติดเชื้อกันมากในปัจจุบันคือ กลุ่มเด็กในโรงเรียน กลุ่มสถานบริการ โดยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะสามารถป้องกันความรุนแรงได้ ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง ป่วยโควิดเพิ่มมากขึ้น ควรประสานเจ้าภาพที่ชัดเจนในการดูแลในด้านความเป็นอยู่
  • ด้านการศึกษา ผลกระทบในกลุ่มคือคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ของเด็กมีความถดถอยในเด็กบางกลุ่ม เด็กอ่านไม่เข้าใจวิเคราะห์ไม่ได้ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีบางพื้นที่เด็กอยู่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงการเข้าเรียน บางพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ในบ้าน บางครอบครัวมีฐานะยากจน ไม่พร้อมด้านอุปกรณ์ด้านการเรียนรู้ บางครอบครัวผู้ปกครองออกจากระบบทำให้เด็กหลุดออกจากระบบ สิ่งที่ค้นพบคือเด็กเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดมากขึ้น การตั้งครรภ์ไม่พร้อม พฤติกรรมที่เหมาะสมจากการเล่นเกมส์มาก เกิดภาวะซึมเศร้าในเด็กบางกลุ่ม
  • ข้อมูลเด็กตกหล่นที่ไม่มีในระบบของสถานศึกษา เด็กที่หลุดออกจากระบบ เด็กไปอยู่ในสถานพินิจ บางส่วนไม่เข้าเรียน กศน หรือมีชื่อแต่ไม่มีการเรียน
  • สถานการณ์เด็กตกน้ำตาย ซึ่งมีเพิ่มขึ้นจำนวนมากในปัจจุบัน จากสถานการณ์ปกติและสถานการณ์โควิด ซึ่งในพื้นที่อันตราย เป้าหมายของประเทศวางไว้ไม่เกิน ๒.๕ ภาคที่มีเด็กจมน้ำตายมากที่สุดคือภาคอีสาน รองลงมาคือภาคใต้ ซึ่งหากมีการจัดการชุมชน เช่น หากชุมชนจัดการการเฝ้าระวัง การปักป้ายเตือน และการป้องกันในเด็กโดยการเอาชีวิตรอด

ทุนทางสังคมที่สามารถต่อยอด

  • รัฐบาลมีนโยบายแก้จน กระทรวงพม.มีการใช้ระบบTPMapเพื่อจัดเก็บข้อมูลช่วยเหลือคนจนระดับครัวเรือน และการวางแผนเพื่อการช่วยเหลือ โดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะทำให้เห็นประเด็นมิติปัญหาต่างๆ เพื่อนำมาสู่การวางแผนคุณภาพชีวิต จัดกลุ่มความเปราะบาง ร่วมกับ พมจ. ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ เป็นที่มาของศูนย์ช่วยเหลือชุมชนในระดับตำบล กำลังขับเคลื่อนมีการจัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งกำลังเริ่มโครงการ
  • การจัดทำระบบข้อมูลของจังหวัดให้เป็นระบบเดียวกัน โดยจังหวัดสงขลาได้มีการ MOU กับองค์กรต่างๆ ๑๑ องค์กร เพื่อจัดทำฐานระบบข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้การช่วยเหลือไม่ซ้ำซ้อน และทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ระบบเบื้องต้นเสร็จแล้ว โดยให้องค์กร ๔ องค์กรหลัก สามารถส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน ซึ่งระบบข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลถึงระบบการรายงาน ซึ่งเป็นการปรับระบบการทำงาน เมื่อข้อมูลตรงกันก็สามารถนำมาสู่การวางแผน เพื่อการช่วยเหลือที่ตรงกับความต้องการของผู้เปราะบางมากขึ้น ซึ่งตอนนี้นำร่องที่จังหวัดสงขลา และจะขยายรูปแบบไปยังจังหวัดอื่นๆ โดยให้มีกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพเป็นเจ้าภาพหลัก
  • การเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย โดยผลักดันเข้าสู่สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้รับงบสนับสนุนจาก Nodeflagship สสส.ดำเนินการใน ๔ พื้นที่ ร่วมกับวัด เกิดโมเดลสานภาคีสานพลัง ปี ๖๕ดำเนินการ ๑๔ พื้นที่ เตรียมสูงวัยในกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป โดยการเตรียมความพร้อมต้องเตรียมตั้งแต่อายุ ๓๕ ปี โดยต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ/การออม ด้านสภาพแวดล้อม/สิ่งอำนวยความสดวก และด้านสังคม
  • คณะกรรมการพัฒนาชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) มีความพยายามให้มีภาคส่วนที่เป็นภาคประชาชนเข้าไปอยู่มากที่สุด เป็นกลไกเบื้องต้น จุดคานงัดที่สำคัญคือ กลไกระดับอำเภอ นายอำเภอมีสิทธิที่จะใช้ทั้งหมด ประเด็นที่เป็นปัญหาไม่สามารถหากรรมการมาเป็นตัวแทนได้เพียงพอ ซึ่งกขป สามารถใช้กลไกของกรรมการ พอช.เพื่อขับเคลื่อนได้ เป็นการนำเรื่องของพอช พชต มาขับเคลื่อน โดยทุกส่วนทำหน้าที่ของตนเอง และมีเป้าหมายร่วมกัน
  • บทเรียนโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองใน ๖ เมือง ได้มีการประเมินความเปราะบางของเมืองและชุมชนร่วมกับอปท. พบว่ากลุ่มเปราะบางเข้าไม่ถึงข้อมูล แต่ใช้ความรู้ประสบการณ์ส่วนตัวและญาติพี่น้องในการรับมือกับสาธารณภัย การมองเชิงกายภาพวิเคราะห์โครงสร้างและระบบของเมืองที่มีขอบเขตตามสภาพปัญหาที่พบจะช่วยทำให้เข้าถึงปัญหาได้มาก(เมืองหลัก/เมืองบริวาร/เมืองชายแดน)
  • การทำให้ระบบการจัดการระดับชุมชนมีความเข้มแข็ง มีกลไกจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน จะรับมือวิกฤตไม่ว่าจะเป็นเรื่องโควิดหรือด้านสุขภาพอื่นๆ เป้าหมายสร้างกลไกการจัดการตนเองของชุมชน สร้างเครื่องมือในการทำงาน ข้อมูล/แผน/ผังชุมชน/กติกา/การสื่อสาร/กองทุนกลาง
  • ควรคำนึงถึงพื้นที่เฉพาะ ได้แก่ เกาะ เขา เล ชายแดน เรือนจำ โรงงาน โรงแรม โรงเรียน

การเข้ารับการบริการด้านสาธารณสุขของผู้มีปัญหาสถานะทางทะเบียน

การเข้ารับการบริการด้านสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์

  • ชนเผ่าพื้นเมือง ชาวโอรัง อัสลี ในพื้นที่จังหวัดยะลา และ นราธิวาส จำนวน ๕๘ คน ได้รับบัตรประชาชน และสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้จำนวน ๕๘คน โดยการดำเนินงานของ ศอ.บต.
  • สปสช.มีนโยบายให้ชาว มานิ และ ชาวโอรัง อัสลี เข้ารับบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการของรัฐได้ทุกแห่ง เพิ่มการเข้าถึงบริการ สอดคล้องกับวิถีชีวิตการเคลื่อนย้ายถิ่น
info
ทุนทางสังคม

 

info
เป้าประสงค์
  1. ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน
  2. ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้
  3. มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน
info
แนวทางดำเนินการ

 

groups
ภาคีร่วมดำเนินงาน
ชื่อภาคีจำนวนโครงการงบประมาณ
1 กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ 2 31,000.00
2 กลุ่มงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลสุไหงโกลก ร่วมกับเครือข่ายนักกายภาพบำบัด จังหวัดนราธิวาส 1 22,892.00
3 กองทุนฟื้นฟูจังหวัดสงขลา 1 1,200,000.00
4 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จ.ปัตตานี 1 2,155,000.00
5 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดปัตตานี 2 10,010,160.45
6 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดยะลา 1 0.00
7 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 24 4,177,650.00
8 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดพัทลุง 1 1,403,125.00
9 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 18 18,020,000.00
10 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสตูล 2 815,000.00
11 กองทุนฟื้นฟูสมรรถาภาพ จังหวัดยะลา 1 20,000.00
12 กองทุนฟื้นสมรรถภาพจังหวัดตรัง 1 80,000.00
13 เครือข่าย Next Gen. (สช.) ดำเนินการโดยสมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด (PPS) 1 260,000.00
14 เครื่อข่ายนักกายภาพบำบัดเขตสุขภาพที่ 12 ร่วมกับ ศอ.บต. 1 0.00
15 งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรงปีนัง 1 60,000.00
16 งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนโดน 1 13,800.00
17 งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลรามัน 1 153,330.00
18 งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสะบ้าย้อย ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล 1 10,000.00
19 มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1 260,000.00
20 มูลนิธิชุมชนสงขลา 3 800,000.00
21 รพสต นาเกตุ 1 0.00
22 โรงพยาบาลกันตัง 1 134,000.00
23 โรงพยาบาลหาดใหญ่ 1 376,450.00
24 ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) 1 266,000.00
25 ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดปัตตานี 1 100,000.00
26 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 2 410,000.00
27 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 2 8,952,060.00
28 ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1 14,252,300.00
29 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) 2 67,124,500.00
30 สมาคมคุ้งครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี 1 400,000.00
31 สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล 1 260,000.00
32 สมาคมสร้างสุขคนเมืองลุง 1 260,000.00
33 สมาคมอาสาสร้างสุข 3 520,000.00
34 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา 1 161,500.00
35 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 1 157,600.00
36 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11 1 239,960.00
37 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 1 36,000.00
38 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 1 12,000.00
รวม 88 133,154,327.45
view_list
โครงการ/กิจกรรม
พ.ศ.ชื่อติดตามโครงการองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
1 2566 เปิดช่องทางการเข้าถึงบริการภาครัฐโดยการแก้ไขปัญหาคนไทยไร้สัญชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 1,584,560.00
2 2566 Mental health by Next Gen. เครือข่าย Next Gen. (สช.) ดำเนินการโดยสมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด (PPS) 260,000.00
3 2566 โครงการติดตั้งราวจับอุ่นใจ ให้ผู้สูงอายุ และคนพิการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสตูล 750,000.00
4 2566 โครงการส่งเสริม ประสาน บูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ ประจำปี 2566 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11 239,960.00
5 2566 โครงการประกันสังคมเยี่ยมผู้ทุพพลภาพประกันสังคมเจ็บป่วยในสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยหลังภาวะวิกฤต สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา 161,500.00
6 2566 โครงการปรัสภาพบ้านของคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ทีมีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยที่อยู่ในระยะกึงเฉียพลัน กองทุนฟื้นฟูสมรรถาภาพ จังหวัดยะลา 20,000.00
7 2566 สนับสนุนการจัดบริการและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ จ.ปัตตานี กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จ.ปัตตานี 2,155,000.00
8 2566 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดพัทลุง 1,403,125.00
9 2566 โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวข้องเนื่องกับบรมวงศานุวงศ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 157,600.00
10 2566 โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพผู้สูงอายุอำเภอหาดใหญ่ ปี 2566 โรงพยาบาลหาดใหญ่ 376,450.00
11 2566 สนับสนุนการให้บริการยืมอุปกรณ์ บริการชุมชนและที่บ้าน และการจัดสภาพแวดล้อม กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดปัตตานี 8,210,160.45
12 2566 สนับสนุนและเสริมสร้างโอกาสทางสังคม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 7,367,500.00
13 2566 โครงการคัดกรองผู้สูงอายุ คนพิการเพื่อรับราวจับ อุ่นใจ ปีงบประมาณ 256ุ6 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสตูล 65,000.00
14 2566 โครงการจัดตั้งศูนย์ยืม - คืน อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดยะลา 0.00
15 2566 สนับสนุนการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดปัตตานี กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดปัตตานี 1,800,000.00
16 2566 โครงการผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 12,000.00
17 2566 โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชน ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖ มูลนิธิชุมชนสงขลา 200,000.00
18 2566 โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2566 มูลนิธิชุมชนสงขลา 100,000.00
19 2566 โครงการจัดทำแผนและผังภูมินิเวศเพื่อการบริหารจัดการน้ำและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 260,000.00
20 2566 พัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดพัทลุง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 36,000.00
21 2566 การดำเนินงานเพื่อการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดย ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดปัตตานี ปี 2566 ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดปัตตานี 100,000.00
22 2566 โครงการ พัฒนาศักยภาพสร้างความรู้ความเข้าใจการทำงานผู้บริโภคและสภาองค์กรผู้บริโภค จังหวัดปัตตานี สมาคมคุ้งครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี 400,000.00
23 2566 โครงการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเฉียบพลัน และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ประจำปี 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 40,000.00
24 2566 โครงการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเฉียบพลัน และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ประจำปี 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 40,000.00
25 2566 โครงการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยคนพิการ ประจำปี 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง กองทุนฟื้นสมรรถภาพจังหวัดตรัง 80,000.00
26 2566 โครงการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยคนพิการ ประจำปี 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 40,000.00
27 2566 โครงการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเฉียบพลัน และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ประจำปี 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 40,000.00
28 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 231,800.00
29 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพรงจระเข้ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 241,440.00
30 2566 โครงการศูนย์ให้บริการเครื่องช่วยความพิการและฟื้นฟูสมรรถภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ 199,800.00
31 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน 174,200.00
32 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน เทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 233,000.00
33 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 117,800.00
34 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 240,480.00
35 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน รพ.สต.บ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 276,480.00
36 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลในควน อำเภอย่านตาข่าว จังหวัดตรัง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 206,000.00
37 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 134,500.00
38 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 193,000.00
39 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 152,200.00
40 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสอม จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 190,200.00
41 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน เทศบาลตำบลนาตาล่วง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 231,800.00
42 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 189,400.00
43 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 212,100.00
44 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 229,550.00
45 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 208,000.00
46 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 181,500.00
47 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 239,400.00
48 2566 โครงการศูนย์สาธิตและยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 209,000.00
49 2566 โครงการซ่อมบำรุง ดัดแปลงและจัดทำเฉพาะ อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ วิทยาลัยสารพัดช่างตรัง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 100,000.00
50 2566 โครงการสนับสนุนและเสริมสร้างโอกาสทางสังคม 0.00
51 2566 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กกำพร้าจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 260,000.00
52 2566 โครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ปี 2565 จังหวัดสงขลา สมาคมอาสาสร้างสุข 0.00
53 2566 สนับสนุนการจัดบริการและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ จ.ปัตตานี รพสต นาเกตุ 0.00
54 2566 โครงการสนับสนุนและเสริมสร้างโอกาสทางสังคม 0.00
55 2566 โครงการเสริมสร้างสุขภาพจิตวัยสูงอายุ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 150,000.00
56 2566 กายภาพบำบัดพบประชาชน กลุ่มงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลสุไหงโกลก ร่วมกับเครือข่ายนักกายภาพบำบัด จังหวัดนราธิวาส 22,892.00
57 2566 สาธารณสุขเชิงรุกโดยรถสิริเวชยาน เครื่อข่ายนักกายภาพบำบัดเขตสุขภาพที่ 12 ร่วมกับ ศอ.บต. 0.00
58 2566 พัฒนาเครือข่ายผู้ดูแลคนพิการจังหวัดนราธิวาส กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ 15,400.00
59 2566 เรียนรู้อยู่กับผู้ป่วยอย่างไรให้สุขกายสบายใจ กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ 15,600.00
60 2566 การคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมเชิงรุกในชมรมผู้สูงอายุตำบลสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสะบ้าย้อย ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล 10,000.00
61 2566 พัฒนางานบริการกายภาพบำบัดสู่ความเป็นเลิศ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลรามัน 153,330.00
62 2566 รู้เท่าทันก่อนเกิดภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนโดน 13,800.00
63 2566 อุ่นใจฟื้นฟูกายจากชุมชนด้วยชุมชน งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรงปีนัง 60,000.00
64 2566 ศูนย์ยืมรถเข็นนั่ง เพื่อช่วยในการเคลื่อนย้ายแลพฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน โรงพยาบาลกันตัง 134,000.00
65 2566 0.00
66 2566 โครงการตําบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน :พัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มโอกาสการมีงานทําให้กับกลุ่มเปราะบางในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 14,252,300.00
67 2566 โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) 266,000.00
68 2566 โครงการเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็งเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยาง สมาคมอาสาสร้างสุข 260,000.00
69 2566 จัดทำแผนของโรงเรียนในการรับมือและลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ เมืองปาดังเบซาร์ สมาคมอาสาสร้างสุข 260,000.00
70 2566 โครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมจัดทำแผนบริหารจัดการน้้ำสายห้วยขี้ค่างนำไปสู่ความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรอาชีพชุมชนเมืองโตนดด้วน สมาคมสร้างสุขคนเมืองลุง 260,000.00
71 2566 พัฒนากลไกภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์คลองละงู สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล 260,000.00
72 2566 โครงการสนับสนุนการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและการจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 1,000,000.00
73 2566 โครงการจัดตั้งศูนย๋สร้างสุขชุมชน(ขยาย) ปี 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 2,500,000.00
74 2566 โครงการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณะภาครัฐจังหวัดสงขลา(ระยะที่ 2) มูลนิธิชุมชนสงขลา 500,000.00
75 2566 โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศและสื่อประชาสัมพันธ์ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา ประจำปี 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 200,000.00
76 2566 โครงการมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและกายอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการจังหวัดสงขลา ปีที่ 2 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 500,000.00
77 2566 โครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน(ขยาย) ประจำปี 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 500,000.00
78 2566 โครงการจัดตั้งศูนย์ผลิตกายอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการจังหวัดสงขลา(ขยาย) ประจำปี 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 1,000,000.00
79 2566 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การปรับสภาพบ้านสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ โดยชุมชนและท้องถิ่น" กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 320,000.00
80 2566 โครงการปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลันและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ประจำปี 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 3,000,000.00
81 2566 โครงการจัดตั้งศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการประจำศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 700,000.00
82 2566 โครงการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ปวยที่อยู่ระยะกึ่งเฉียบพลันและผู้มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสงขลา กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 100,000.00
83 2566 โครงการจัดตั้งศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการประจำศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน นำร่อง กองทุนฟื้นฟูจังหวัดสงขลา 1,200,000.00
84 2566 โครงการจัดตั้งศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนำร่อง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 1,600,000.00
85 2566 โครงการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ยืม-คืนเตียงนอนประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "ธนาคาร 1000 เตียง" กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 1,700,000.00
86 2566 โครงการพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานและระบบบริการศูนย์สร้างสุขชุมชน นำร่อง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 150,000.00
87 2566 โครงการสนับสนุนกาาจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 500,000.00
88 2566 โครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 650,000.00
89 2566 โครงการผลิตผ้าอ้อมถอดซักได้เพื่อคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่พ้นระยะวิกฤตและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 500,000.00
90 2566 โครงการติดตั้งราวเกาะยืนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน "ราวเติมฝัน ปันสุข" ระยะที่ 2 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 1,600,000.00
91 2566 โครงการปรับสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อผู้สูงอายุ เพื่อทุกคน กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 1,500,000.00
92 2566 โครงการบ้านพอเพียง ปี 2566 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) 65,128,500.00
93 2566 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี 2566 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) 1,996,000.00
รวม 133,528,327.45
view_list
จำนวนโครงการแต่ละจังหวัด
จังหวัดจำนวนโครงการงบประมาณ
1 สงขลา 49 157,971,280.00
2 ตรัง 34 72,437,710.00
3 ยะลา 24 91,889,350.00
4 ปัตตานี 18 104,067,580.45
5 นราธิวาส 15 91,716,312.00
6 สตูล 12 77,738,960.00
7 พัทลุง 8 69,371,185.00
8 ภาคใต้ 7 81,642,800.00
รวม 167 746,835,177.45
หมายเหตุ: ผลรวมของจำนวนโครงการและงบประมาณของทุกจังหวัดอาจจะสูงกว่าผลรวมของโครงการและงบประมาณจริงเนื่องจากบางโครงการดำเนินการในหลายจังหวัด
event
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมจำนวนโครงการงบประมาณ
1 การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา 46 102,387,935.45
2 การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ 23 34,929,105.45
3 การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย 19 78,879,245.00
4 การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน 16 10,551,640.00
5 การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก 13 3,030,272.00
6 การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว 12 5,558,000.00
7 การประเมินติดตามผล 11 26,248,485.00
8 การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 10 9,697,952.00
9 การส่งเสริมสุขภาพ 8 9,351,517.00
10 ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ) 8 8,900,000.00
11 การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย 6 26,042,800.00
12 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5 1,300,000.00
13 การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง 3 372,000.00
14 การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3 7,785,100.00
15 การจัดการความรู้ งานวิจัย 3 999,960.00
16 การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ 3 451,960.00
17 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้ 2 8,222,160.45
18 อื่นๆ 1 134,000.00
19 การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ 1 260,000.00
รวม 193 335,102,132.35
หมายเหตุ: ผลรวมของจำนวนโครงการและงบประมาณของทุกประเภทกิจกรรมอาจจะสูงกว่าผลรวมของโครงการและงบประมาณจริงเนื่องจากบางโครงการดำเนินการในหลายประเภทกิจกรรม
paid
งบประมาณแต่ละหน่วยงาน
หน่วยงานจำนวนโครงการงบประมาณ
1 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) 67,124,500.00
2 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา 18,020,000.00
3 ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 14,252,300.00
4 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดปัตตานี 10,010,160.00
5 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 8,952,060.00
6 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดตรัง 4,177,650.00
7 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จ.ปัตตานี 2,155,000.00
8 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดพัทลุง 1,403,125.00
9 กองทุนฟื้นฟูจังหวัดสงขลา 1,200,000.00
10 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสตูล 815,000.00
11 มูลนิธิชุมชนสงขลา 800,000.00
12 สมาคมอาสาสร้างสุข 520,000.00
13 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 410,000.00
14 สมาคมคุ้งครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี 400,000.00
15 โรงพยาบาลหาดใหญ่ 376,450.00
16 ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) 266,000.00
17 สมาคมสร้างสุขคนเมืองลุง 260,000.00
18 มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 260,000.00
19 สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล 260,000.00
20 เครือข่าย Next Gen. (สช.) ดำเนินการโดยสมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด (PPS) 260,000.00
21 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11 239,960.00
22 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา 161,500.00
23 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 157,600.00
24 งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลรามัน 153,330.00
25 โรงพยาบาลกันตัง 134,000.00
26 ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดปัตตานี 100,000.00
27 กองทุนฟื้นสมรรถภาพจังหวัดตรัง 80,000.00
28 งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรงปีนัง 60,000.00
29 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 36,000.00
30 กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ 31,000.00
31 กลุ่มงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลสุไหงโกลก ร่วมกับเครือข่ายนักกายภาพบำบัด จังหวัดนราธิวาส 22,892.00
32 กองทุนฟื้นฟูสมรรถาภาพ จังหวัดยะลา 20,000.00
33 งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนโดน 13,800.00
34 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 12,000.00
35 งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสะบ้าย้อย ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล 10,000.00
36 เครื่อข่ายนักกายภาพบำบัดเขตสุขภาพที่ 12 ร่วมกับ ศอ.บต. 0.00
37 รพสต นาเกตุ 0.00
38 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จังหวัดยะลา 0.00
รวม 133,154,327.00
groups
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์
กลุ่มเป้าหมายจำนวนโครงการงบประมาณจำนวนกลุ่มเป้าหมาย(คน)
1 ผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานในเขต 12 157,600.00 12,000
2 ตนพิการ 100,000.00 1,000
3 คนพิการ 65,388,500.00 812
4 ผู้สูงอายุ 66,184,280.00 809
5 ชุมชน 260,000.00 500
6 อาสาสมัครสาธารณสุข 376,450.00 500
7 ชุมชน 8 หมูู่บ้าน 260,000.00 500
8 ผู้ร้องขอมีบัตรประจําตัวประชาชนและบุคคลอ้างอิงหรือ 1,584,560.00 400
9 กลุ่มวัยรุ่น/เยาวนคนรุ่นใหม่ 260,000.00 390
10 ผู้สูงอายุและคนพิการในพื้นที่จังหวัดสตูล 750,000.00 250
11 แรงงานนอกระบบ 100,000.00 200
12 ประชาชนผู้เข้าร่วมรับฟังชี้แจงขั้นตอนกระบวนการตรวจ 1,584,560.00 200
13 ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงาน พม. ในเขตรับผิดชอบ 239,960.00 200
14 ภาคีเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ 239,960.00 200
15 ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 376,450.00 200
16 เด็กนักเรียน 260,000.00 100
17 เด็กนอกระบบ 100,000.00 100
18 กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ กล 260,000.00 100
19 ผู้สูงอายุและผู้พิการที่สมควรได้รับการดูแลและฟื้นฟ 1,403,125.00 100
20 ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 153,330.00 100
21 จ้าหน้าที่สํานักทะเบียนอําเภอ สํานักทะเบียนท้องถิ่ 1,584,560.00 60
22 บุคลากรสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๑ 239,960.00 50
23 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคลินิกผู้สูงอายุ 376,450.00 50
24 ผู้ดูแลหลัก (care giver) 153,330.00 50
25 กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มปลูกไม้ผล 260,000.00 50
26 คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 376,450.00 40
27 ผู้ป่วยติดเตียง 260,000.00 4
รวม 143,289,525.00 18,965
หมายเหตุ: ผลรวมของจำนวนโครงการและงบประมาณของทุกกลุ่มเป้าหมายอาจจะสูงกว่าผลรวมของโครงการและงบประมาณจริงเนื่องจากบางโครงการดำเนินการในหลายกลุ่มเป้าหมาย